หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ความเชื่อมโยงสติสัมปชัญญะและสติปัญญา

บางครั้งเราจะสับสนระหว่างคำว่าจิตกับสติ โดยทั่วไปจิตจะเกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึก ความนึกคิด การรับรู้ เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง แต่สตินั้นเป็นคุณธรรมเครื่องกำกับจิตให้นึกคิดไปในทางที่ถูกต้อง ซึ่งโดยทั่วไปให้ความหมายสติ หมายถึงความละลึกได้ เมื่อนำมาใช้คู่กับสัมปชัญญะ ทำให้ความหมายของคำว่าสติกับสัมปชัญญะใกล้เคียงกัน โดยสัมปชัญญะหมายถึงความรู้ตัว ทำให้ในบางครั้งความหมายของคำว่าสติ มีความหมายว่าเป็นการรู้ตัวด้วย เพราะสติที่มีความหมายว่าการละลึกได้นั้น ถ้าละลึกได้ก็คือการรู้ตัวว่าจะทำอะไร ทั้งสติและสัมปชัญญะจึงเป็นธรรมที่รวมเรียกว่า สติสัมปชัญญะ ซึ่งควรค่าแก่การฝึกปฏิบัติ


ดังนั้นการฝึกสติในเบื้องต้นในระดับสมถะ เป็นการฝึกสติ เพื่อให้เกิดสัมปชัญญะ นั่นก็คือเมื่อละลึกได้ย่อมเกิดสัมปชัญญะ จึงเรียกว่าสติสัมปชัญญะ ในการฝึกสติให้เปรียบเทียบจิตเหมือนกับเรือ และสติเหมือนกับหางสือบังคับทิศทางให้ไปในทิศทางที่ถูกต้อง ซึ่งจะต้องเป็นสัมมาสติ ไม่ใช่มิจฉาสติ คนที่ละลึกอะไรไม่ได้ไม่รู้ตัว ตามที่คุณศุภวรรณ กรีนกล่าวไว้ในหนังสือไอน์สไตย์ถามพระพุทธเจ้าตอบ คนที่ไร้ซึ่งสติ คือ"คนที่นอนหลับสนิท คนหมดสติ สลบ ด้วยอำนาจของยา และไม่ใช่อำนาจของยา คนอยู่ในอาการโคม่า และคนตายสนิท" อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงนั้นน่าจะมีกรณีอื่นๆ เช่นใจลอย ฝันกลางวัน คนเป็นโรคความจำเสื่อมบางครั้งทำอะไรไปไม่รู้ตัว ละลึกอะไรไม่ได้ก็มี

การฝึกสติขั้นพื้นฐานจึงเป็นสิ่งจำเป็นก่อนที่จะฝึกสติในขั้นสูงต่อไป คือสติปัญญา ดังที่เราพูดกันติดปากว่า "สติมาปัญญาเกิด" เป็นอีกขั้นตอนที่จะต้องฝึกทำสมาธิ วิปัสสนา เป็นการฝึกสติเพื่อให้เกิดปัญญา ซึ่งปัญญาโดยความหมายเป็นความรู้แจ้ง รู้จริง เพื่อการพ้นทุกข์ ดังนั้นถ้าคิดกระบวนการที่เป็นวัฏจักร ขาเข้าคือสติเพื่อสัมปชัญญะ ขาออกคือสติเพื่อปัญญาการจะเจริญปัญญาให้มากขึ้น นั้นเราต้องวิปัสสนา หรืออบรมใจ ฝึกจิตให้ ให้เห็นสัจธรรมตามความเป็นจริง เพื่อเข้าสู่สัจจะความจริงอันประเสริฐหรือพระนิพพาน กล่าวอีกอย่างว่ามีสติสัมปชัญญะเป็นพื้นฐานให้แก่สติปัญญานั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น