หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

พืชตัดแต่งพันธุกรรม:กรณีถั่วเหลื่อง

ประเทศไทยแม้ว่าจะปลูกถั่วเหลืองได้แต่ไม่เพียงพอ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนถึงปีละ 60000 ล้านบาท และส่วนใหญ่ก็เป็นถั่วเหลืองตัดแต่งพันธุกรรมหรือที่เรียกว่า GMO ที่เรารู้ได้เพราะประเทศที่ส่งออกมายังประเทศไทยนั้นเข้าใช้พันธ์ถั่วเหลืองจีเอ็มโอในการปลูกเช่นบลานซิลอาเยนตินา อันเป็นพันธ์ที่ให้ผลผลิตสูงและต้านทานต่อยาฆ่าวัชพืชและยาฆ่าแมลง จึงทำให้ผลผลิตต่อไร่สูงและต้นทุนการผลิตต่ำกว่าในประเทศไทย


ประเทศไทยปลูกถั่วเหลืองในภาคเหนือและภาคอิสาน เป็นพันธุ์ถั่วเหลืองธรรมชาติที่ยังไม่ตกแต่งพันธุ์กรรม ซึ่งพบว่ามีข้อดีกว่าในแง่ของคุณค่าอาหารที่ให้โปรตีนสูงที่มีถึง 40% และเป็นที่ต้องการของบางประเทศที่ยังต้องการสินค้าอาหารที่ไม่ใช้จีเอ็มโอ ในยุโรปนั้นสินค้าผลิตภัณฑ์ใดที่ใช้พืชจีเอ็มโอต้องติดฉลากบอกให้ผู้บริโภคทราบ ที่เป็นเช่นนี้เพราะอาจเป็นเพราะว่าการวิจัยยังไม่สมบูรณ์ก็ได้ว่าจะมีผลต่อการบริโภคอย่างไรในขณะนี้ เพราะโครงสร้างขององค์ประกอบแตกต่างไปจากพืชธรรมชาติ

การตกแต่งพันธุ์กรรมแม้ว่าจะมีข้อดีให้ทนต่อโรค แมลง และสารเคมีได้ แต่ก็จะมีผลกระทบต่อระบบนิเวศทำให้เสียความสมดุลย์ไป เช่นเมื่อปลุกถั่วเหลืองจีเอ็มโอมีการฉีดยาฆ่าวัชพืช วัชพืชตายหมดแต่ถั่วเหลืองไม่ตาย แมลงที่เคยอาศัยวัชพืชก็ไม่สามารถอยู่ได้ หรือแมลงที่เคยมากินพืชถูกยาฆ่าแมลงตายเกือบหมดแต่พืชไม่ตาย อาจจะส่งผลทำให้แมลงที่ช่วยในการผสมเกสรพืชบางชนิดเสียไป เช่นลำใยการติดลุกน้อยลงทำให้ชาวสวนบางแห่งถึงกับต้องเลี้ยงผึ้งไว้ในสวนด้วยเพื่อช่วยในการผสมเกสรเป็นต้น

ถึงเวลาแล้วที่นักวิชาการต้องมีองค์ความรู้ในเรื่องนี้ให้มากขึ้นมิฉะนั้นแล้ว เราอาจจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงในอนาคตอันจะส่งผลต่อเศรษฐกิจสังคมที่ยากต่อการแก้ไขก็เป็นได้ ในการทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง และประเทศเราอาจจะไม่เป็นแหล่งอาหารของโลกอีกต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น