หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

นครศึกษา: กรณียามาดะ

จำได้ว่ามีอนุสรณ์อันเป็นที่ละลึกของยามาดะ ผู้ซึ่งแม้จะเป็นคนญี่ปุ่น แต่ก็เคยได้รับตำแหน่งเจ้าเมืองนครมาระยะหนึ่ง สถานที่อันเป็นอนุสรณ์อยู่บริเวณอันติดกับร้านโกปี๊สาขาสองในเมืองในปัจจุบัน จำได้ว่าเคยมีคณะทัวจากญี่ปุ่นเดินทางมาเยี่ยมชมเลยทีเดียว เช่นเดียวกับที่คณะท่องเที่ยวเดินทางไปชมอนุสาวรีย์วีรไทยหรือเจ้าพ่อดำ คนญี่ปุ่นได้เคยให้ทุนสร้างอนุสรณ์สถานเป็นพิพิธภัณฑ์สงครามที่ครั้งหนึ่งญี่ปุ่นเคยเข้ามารบกับทหารไทย (ชาวนคร) ที่ท่าแพ อยู่บริเวณใกล้จุดที่มีการปะทะ จนบัดนี้ยังไม่มีโอกาสเข้าไปดู


ในกรณีของยามาดะทำให้นึกถึงคนญี่ปุ่นอีกคนหนึ่งที่ได้มีโอกาสไปเป็นประธานาธิปดีของอีกประเทศหนึ่งก็คือ อดีตประธานาธิปดีฟูจิมูริของประเทศชิลี ลึกๆ แล้วคนญี่ปุ่นแผ่นดินแม่คงอดภูมิใจไม่ได้ที่คนเชื้อสายญี่ปุ่นเป็นที่ยอมรับของประเทศอื่นได้ย่อมมีอะไรดีอยู่ในตัวแน่ แต่กลับว่าถูกศาลตัดสินให้จำคุกว่าละเมิดสิทธิมนุษย์มวลชน และคอรับชั่น จนบัดนี้ไม่รู้ว่าสู้คดีกันไปถึงไหน แต่เชื่อเถอะว่าคนญี่ปุ่นคงมีความมั่นใจเชื่อในความเป็นญี่ปุ่นที่มีความรักชาติชาตินิยม ก็ไม่เคยเห็นคนญี่ปุ่นออกมาตำหนิให้เห็น เช่นเดียวกับ ยามาดะ คนญี่ปุ่นก็อยากมาดูมาเห็นว่าที่มาเป็นใหญ่ได้ที่เมืองนครเป็นอย่างไร สร้างวีรกรรมอะไรไว้บ้าง ทั้งๆ ที่ตอนที่อยู่ญี่ปุ่นอาจจะเป็นแค่ลูกน้องต้องแบกหามสะเหลี่ยง และชาวนครก็จะเห็นทางที่เราสามารถจะสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างชาติ การศึกษาประวัติศาสตร์ช่วงที่ยามาดะมาเป็นเจ้าเมืองเป็นสิ่งน่าสนใจและยังคลุมเคลืออยู่มาก

เท่าที่ทราบมีการศึกษาวิจัยกันเรื่องนี้กัน ทำให้ได้ทราบรายละเอียดเพิ่มขึ้น เช่นว่าทำไมยามาดะจึงได้มาเป็นเจ้าเมืองนคร ก็สืบสาวราวเรื่องไปในสมัยกรุงศรีอยุธยาที่ถือว่าเมืองนครเป็นเมืองภายใต้อานัติการปกครองของกรุงศรีอยุธยา ยามาดะก็คงเป็นคนที่มีความสามารถอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ในยุคนั้นหากการเมืองอยุธยาระส่ำระสายมีความไม่มั่นคงหัวเมืองในอานัติทั้งหลายก็แข็งเมืองไม่ยอมซูฮกเหมือนเมื่อก่อน ทางกรุงศรีอยุธยาเมื่อเรืองภายในสงบลงก็ส่งกองทัพมาปราบ และยามาดะจึงได้โอกาสแจ้งเกิดเป็นแม่ทัพมาปราบ เมื่อทำได้สำเร็จก็ได้ทำหน้าที่เป็นเจ้าเมือง และก็เช่นเดียวกันเมืองนครก็คงเป็นเมืองใหญ่ก็มีเมืองในอานัติเช่นเดียวกัน ขณะที่เมืองนครระส่ำระสาย เมืองปัตตานีเมืองในอานัติเมืองนครก็เอาใจออกห่างเช่นเดียวกับที่เมืองนครกระด้างกระเดื่องต่ออยุธยา (หรือสมัยหนึ่งอยุธยาเคยกรด้างกระเดื่องต่อพม่า พม่าก็ยกทัพมาปราบเช่นกัน) ยามาดะก็ยกทัพไปปราบการแข็งข้อของเมืองปัตตานีได้สำเร็จ มีหลักฐานการศึกษาในกรณียามาดะเกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องใช้ที่ยามาดะใช้ มีบางอย่างเป็นรูปแบบของญี่ปุ่น อันแสดงให้เห็นถึงความเป็นชาตินิยมของญี่ปุ่นมีมานาน และยามาดะก็มาจบชีวิตลงด้วยการเมืองที่เมืองนคร นัยว่าถูกวางยาพิษเสียชีวิต ยังไม่ชัดเจนนักว่าถูกลอบวางยาพิษด้วยสาเหตุใด ตอนที่เป็นเจ้าเมืองมี ภรรยาเป็นใคร คนนครหรือเปล่า ก็ยังล้วนน่าศึกษา ก็จะเป็นอีกหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์เมืองนครที่น่าสร้างความชัดเจน เพื่อเป็นข้อมูลสร้างความสัมพันธ์และการท่องเที่ยวต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น