หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

องค์รวมกับการเรียนรู้อย่างมีความหมาย

โดยทั่วไปการเรียนการสอนแบบองค์รวม นั้นมุ่งไปที่ให้มองภาพรวมก่อน แล้วจึงเจาะลึกลงมาที่ส่วนย่อย นั้นก็คือให้มองความสัมพันธ์เกี่ยวข้องเชื่อมโยงให้ออกเสียก่อนจึงจะมาเรียนเจาะลึกในส่วนย่อยจะทำให้เข้าใจ ประยุกต์ใช้ได้ นั่นก็คือต้องเห็นภาพรวมของเนื้อหาก่อนที่จะ ศึกษาฝึกประสบการณ์ในส่วนย่อยๆ ให้ความสำคัญกับผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ บทเรียนต่างๆ มีความสำคัญมีความหมายต่อผู้เรียน


การเรียนรู้แบบมีความหมายจึงสอดคล้องกับการเรียนการสอนแบบมีองค์รวม ส่วนสำคัญของการเรียนรู้ลักษณะนี้นั้น ให้ความสำคัญกับความรู้ที่มีอยู่เดิม หรือเรียนรู้มาก่อนแล้ว โดยมั่นใจว่าคนจะเกิดการเรียนรู้ใหม่ได้ความรู้ใหม่ต้องมีพื้นฐานในการรับความรู้ใหม่ก่อนเสมอ จะเห็นได้ชัดว่า ความรู้ใหม่ที่ได้เกี่ยวข้องสัมพันธ์เชื่อมโยงกับความรู้เดิมของผู้เรียนที่มีมาก่อนแล้ว จึงจะถือว่าเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย บางคนอาจจะแย้งว่าถึงไม่มีความรู้พื้นฐานเดิมมาก่อนก็อาจเรียนรู้ได้ แต่นั่นมีทางเป็นไปได้ แต่ก็อาจทำให้เกิดการเรียนรู้ช้าหรือไม่เกิดการเรียนรู้ เช่นเดียวกับเด็กทางรกเริ่มคลอดที่เริ่มเกิดการเรียนรู้จากการได้สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และเรียนรู้ในสิ่งจำเป็นมีความหมายเพื่อความอยู่รอด เป็นพื้นฐาน ดังนี้ในการเรียนรู้เรื่องใดๆ คงต้องมาสร้างความรู้พื้นฐานให้ก่อนจึงจะเข้าใจไล่ทันคนที่มีความรู้พื้นฐานมาก่อน ดังปรากฏในหลักสูตรการเรียนการสอนมักมีการกำหนดว่าวิชาใดควรมีพื้นฐานความรู้ด้านใดมาก่อน

การเรียนรู้แบบไม่มีการเชื่อมโยงอะไรเลย จึงเปรียบได้กับการเรียนรู้ที่ไม่มีความหมายใดๆ เปรียบได้กับการเรียนแบบท่องจำ คือจำได้แต่ไม่เข้าใจประยุกต์ใช้ก็จะเป็นไปได้ยาก การทองจำแบบจึงลืมง่ายเพราะไม่ได้มีความหมายที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ การเรียนรู้แบบองค์รวมจึงเป็นการเรียนรู้ที่มีความหมายอย่างหนึ่ง ผู้สอนและผู้เรียนต่างก็จะรู้ว่า กิจกรรมอะไรที่จะจัดให้ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามต้องการ คือรู้อะไรจากการเรียนรู้ ผู้เรียนก็จะทราบว่าตัวเองรู้อะไรและไม่รู้อะไร การจัดการเรียนรู้จึงเป็นการสร้างเงื่อนไขให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ได้ความรู้ใหม่ที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมได้ มีการผสมผสานความรู้ ได้มโนทัศน์ใหม่ที่จะนำไปใช้ในการตีความประมวลเรื่องราวต่างๆ จากการอ่านและการฟัง การมีส่วนร่วมปฏิสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ต่อไป

การเรียนรู้วิชาใดก็ควรจะได้เรียนรู้บริบทของวิชานั้นเป็นพื้นฐาน ว่ามีความเชื่อมโยงกับเรื่องอื่นๆอย่างไร รวมทั้งการเชื่อมโยงภายในวิชาเองด้วย เช่นการเรียนรู้ทางภาษาก็ควรจะได้ทราบสังคม วัฒนธรรมของเจ้าของภาษาที่จะเรียนรู้ ก็จะทำให้เข้าใจเรื่องภาษาง่ายเข้า การเรียนรู้ฟิสิกส์จะต้องมองให้ออกว่าเกี่ยวข้องอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างไร และไปเกี่ยวข้องกับวิชาอื่นอย่างไร เรียนให้รู้แล้วจะมีประโยชน์อย่างไรต่อการดำเนินชีวิต และการแสวงหาความรู้ต่อไปอย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น