หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ชีวิตจะให้ได้เท่าที่คุณขอ

ตามหลักของเหตุและผลของการกระทำ การกระทำอะไรก็จะมีจุดมุ่งหมายอะไรสักอย่าง ที่กระทำไปโดยไร้จุดหมายก็เหมือนกับคนไม่มีสติ ทำอะไรก็สำเร็จได้ยาก สิ่งที่เราได้กระทำลงไปมีทั้งกรรมดีและกรรมไม่ดี ที่เรียกกันว่าบุพกรรม ทำกรรมดีก็ส่งผลให้ไปในทางที่ดี ทำกรรมชั่วก็ส่งผลให้ในทางไม่ดี ซึ่งเราอาจได้ยินอยู่บ่อยๆ ว่า ทำอะไรได้อย่างนั้น จากประโยคนี้บ่งชี้ให้เห็นถึงว่า ตัวเราเองเป็นผู้บันดาลให้เกิดขึ้นไม่มีใครจะมาทำให้เกิดขึ้น


ดังกล่าวมาแล้วนั้นเป็นหลักการใหญ่ ซึ่งได้แก่กฏแห่งกรรมนั่นเอง แต่ที่คนส่วนใหญ่ยังคงทำความชั่วทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่นอยู่นั้น แสดงให้เห็นถึงความไม่เชื่อและไม่มั่นใจในกฏแห่งกรรม เพราะมันไม่ได้เห็นผลทันตาเห็น แถมยังมีข้ออ้างอีกว่าเห็นคนทำชั่วได้ดีมีเยอะไป และทำไมบางคนก็ดำเนินชีวิตเหมือนคนอื่นๆ ทำไมจึงประสบแต่ความทุกยากแสนสาหัส หรือเป็นคนดีตายเร็ว คนชั่วตายช้าธรรมนองนั้น ชาวพุทธก็ให้เชื่อกฏแห่งกรรมว่าไม่มีใครหนีกฏแห่งกรรมนี้ไปได้ ไม่ได้สนองตอบในชาตินี้ก็จะไปสองตอบในชาติหน้า ภพหน้าต่อไป

การจะตอบคำถามว่าทำไมจึงไม่เป็นไปตามกฏแห่งกรรม คนชั่วมากมายยังลอยนวลอยู้ อาจจะตอบได้ง่ายว่าเขาเคยทำกรรมดีไว้มากในชาติภพภูมิที่ผ่านมา สำหรับคนดีกลับได้รับผลที่เลวร้ายตอบแทนก็อาจคิดได้ว่าเขาเคยทำกรรมชั่วไว้เมื่อปางก่อน ก็ส่งผลมาในปัจจุบันก็ได้ ฉะนั้นคนทุกคนจึงไม่ควรประมาทจงเร่งบำเพ็ญประโยชน์ สร้างกรรมดีชดเชย หรือทำความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

การกล่าวว่าชีวิตจะให้เท่ากับคุณขอ (You are what you think you are) น่าจะบ่งบอกให้ทราบว่าเราอยากเป็นอยากมีอะไรอย่าอยู่เฉย ให้ใช้ปัญญาคิดหาวิธีการเพื่อให้บรรลุที่ตั้งใจ(หรือตามที่ขอ) โดยเฉพาะที่เป็นกรรมดีทั้งหลาย ดังที่เคยพูดเป็นกลอนกันมาช้านานเป็นข้อเตือนใจที่ว่า

อย่านอนตื่นสาย อย่าอายทำกิน อย่างหมิ่นว่าเงินน้อย อย่านอนคอยวาสนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น