หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เรือผีหลอกในอ่าวนคร

การดำนินโครงการชุดวิจัยอ่าวนครนั้น พื้นที่แหลมตะลุมพุงด้านในก็เป็นส่วนหนึ่งของอ่าวนคร วิถีชีวิตของชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่มีอาชีพทำการประมงเป็นอาชีพ และการประมงพื้นบ้านชายฝั่งก็มีรูปแบบที่หลากหลาย การใช้เรือเซียดหรือเรือผีหลอก ก็เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างหนึ่งที่ใช้ในการหาปลา โดยไม่ต้องจับปลา แต่เป็นการหลอกปลาให้กระโดดเข้ามาในลำเรือได้เอง เป็นที่มาของคำว่าเรือผีหลอก เป็นภูมิปัญญาที่ยังคงมีอยู่ในอ่าวนคร แม้ว่าจะลดน้อยลงไปอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่ทำให้ความชุก ชุมของปลาลดน้อยลงไป


ในวันที่ได้ลงสำรวจอ่าวนครนั้น ได้ประสานกับผู้ใหญ่บ้านช่วยจัดให้ผู้ที่ยังมีเรือผีหลอกมาสาธิตให้ดู ขณะที่สาธิตให้ดูนั้นก็เห็นปลากระโดดเข้ามาในเรือจริง ที่หลอกปลาได้นั้นน่าเป็นเพราะปลาตกใจที่เห็นซึ่หมายยาวคล้ายหวีแกวกไปในน้ำแล้วยังมาเจอสีขาวที่จ้า ก็ตกใจกระโดดเข้าลำเรือ เป็นการคิดแทนปลา การอธิบายว่าปลาเข้ามาได้อย่างไรนั้นที่แท้จริงยังไม่แน่ชัดต้องศึกษาวิจัยกันต่อไปอีก ดูภาพประกอบต่อไปนี้แล้วจะเข้าใจได้ดีกว่า

จาก ภาพจะเห็นแผงไม้ทาสีขาวห้อยแขวนไว้กับกราบเรือด้านหนึ่ง ให้จุ่มลงในน้ำมากกว่าครึ่งหนึ่งของที่ทาสีไว้ มีด้ามไม้ไผ่ที่เสียงไม้ไผ่เหลาไว้ห่างกันประมาณ 1 นี้วคล้ายกับซี่ของหวี สามารถที่จะบังคับให้จุ่มในน้ำมากน้อยจากคันบังคับที่เจ้าของนั่งนับอยู่ พร้อมกับพายเรือไปในแหล่งที่คิดว่ามีปลาอยู่มาก ที่หัวเรือใช้ไหใส่น้ำถ่วงน้ำหนักเรือให้พอเหมาะ กราบเรืออีกด้านหนึ่งขึงตาข่ายไว้ เมื่อปลากระโดดเข้ามาในเรือจะได้ไม่เลยข้ามไปอีกด้านหนึ่ง ส่วนใบไม้ที่ใส่ในลำเรือนั้น เมื่อปลากระโดดมาลงลำเรือแล้วก็จะไม่สามารถกระโดดกลับลงน้ำอีกเพราะจะติด ใบไม้ ส่วนตะเกียงที่จุดไว้หน้าเจ้าของที่พายเรือไว้ใช้ยามค่ำคืน เป็นแสงไฟล่อปลาไปในตัว จะเห็นว่าทุกอย่างที่ใช้มีเหตุผลเป็นภูมิปัญญาที่น่าสนใจ น่าจะอนุรักษ์ไว้ สร้างเป็นเรือจำลองไว้ศึกษา หลักการทำงาน จะเห็นว่าใช้หลักการทางฟิสิกส์หลายอย่าง และน่าทำเป็นของที่ละลึกจำหน่ายให้นักท่องเที่ยวได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น