หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การมีส่วนร่วมของชุมชนกับกระบวนการเรียนรู้ ในชุดโครงการวิจัยอ่าวนคร

วันนี้หนังสือพิมพ์มติชนได้ลงเรื่องเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนกับกระบวนการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชาวเขาและชาวเล รวมทั้งเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันระหว่างชาวเลและชาวเขา ชาวเลมีอาหารทะเลมาแลกเปลี่ยนกับผักผลไม้ของชาวเขา ในกระบวนการเรียนรู้ มีทั้งป่าต้นน้ำ และป่าชายเลนเป็นห้องเรียนธรรมชาติ ดังที่ทำให้เกิดห้องสมุดสุขภาวะทางชีวภาพ ซึ่งจะเห็นว่ามีความสอดคล้องกับโครงการวิจัยการมีส่วนร่วมของชุมชนกับกระบวนการเรียนรู้ดัชนีชีวภาพเพื่อพัฒนาทรัพยากรชีวภาพป่าชายเลนปลูกอ่าวนคร ซึ่งเป็นชื่อโครงการวิจัยในชุดโครงการวิจัยการเสริมสร้างคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนอ่าวนครศรีธรรมราช (จะเรียกสั้นๆว่าชุดโครงการวิจัยอ่าวนคร) ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์หลักของแผนงานวิจัยในการเพิ่มคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


เราคงได้เห็นประโยชน์อันเกิดจากการดำเนินงานวิจัย นั้นเป็นส่วนหนึ่งของโครงการย่อยจากโครงการทั้งหมด 9 โครงการ ซึ่งจะเห็นว่าเป็นงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จุดสำคัญอยู่ที่การทำให้ชุมชนท้องถิ่นได้เรียนรู้และได้รับประโยชน์จากงานวิจัยโดยตรง มีส่วนในการแก้ปัญหาชุมชน ไม่ว่าการประมงบริเวณป่าชายเลนปลูก การเสริมคุณค่าทรัพยากรชีวภาพป่าชายเลนด้วยกระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาคุณค่าทรัพยากรชีวภาพทางประมงด้านอาหาร การเรียนรู้ความหลากหลายชีวภาพของราบริเวณป่าชายเลนปลูก และดัชนีชีวภาพบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในทุกเรื่องดังกล่าวนั้นอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินวิจัย

ตามโครงการวิจัยนี้ถือว่าเป็นงานวิจัยที่สร้างความเข้มแข็งให้ท้องถิ่น ที่ให้ชุมชนท้องถิ่นได้เรียนรู้ได้ประโยชน์จากการวิจัยมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาชุมชน นอกจากนี้ตามวัตถุประสงค์หลักของแผนงานวิจัยอีกประการหนึ่งคือการจัดการความรู้เกี่ยวกับอ่านครศรีธรรมราชสู่การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน นอกจากจะเน้นการเรียนรู้ที่เป็นสิ่งสำคัญในการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงคุณภาพชีวิต แล้วยังมีวิธีการจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยอย่างเป็นระบบ โดยความรู้ที่ได้จากโครงการวิจัยนี้นั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เชื่อมโยงอยู่กับองค์ความรู้ส่วนอื่นๆ ในภาพรวม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น