หน้าเว็บ

วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ครอบครัวเข้มแข็ง2

ในประเทศญี่ปุ่นผู้หญิงส่วนใหญ่เมื่อแต่งงานจะลาออกจากงานมาดูแลบ้านดูแลครอบครัว สามีเป็นผู้หาเลี้ยงครอบครัวเป็นหลัก ผู้หญิงก็มาทำงานบ้านเต็มตัว เลี้ยงลูกอบรมสังสอนลูกอย่างไกล้ชิดส่งเสริมทำให้สัมพันธภาพในครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ต้องจ้างแม่บ้านพี่เลี้ยงน้อง อาจเป็นเพราะว่าค่าจ้างแรงงานสูงมากที่ครอบครัวไม่อาจแบกรับไหวประการหนึ่ง และที่สำคัญก็คือไม่ต้องไปแย่งงานผู้ชายทำ ทำให้อัตราการว่างงานในประเทศญี่ปุ่นจึงต่ำมากด้วยเหตุนี้ นอกจากนี้รัฐบาลยังให้ความสำคัญในเรื่องนี้ด้วยส่งเสริมครอบครัวให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากมีรายการทีวีเพื่อการศึกษาสำหรับเด็กสำหรับนักเรียนโดยเฉพาะ สำหรับทีวีท้องถิ่นก็มีรายการแม่บ้านทั้งวัน ให้การศึกษาในการดูแลบ้าน เลี้ยงดูเด็ก การทำอาหารและงานบ้านอื่นๆ ทุกชนิดที่เป็นการเสริมสร้างให้ครอบครัวเข้มแข็ง จึงเป็นแบบอย่างที่ดี


ในประเทศมาเลย์เซียให้ความสำคัญทำให้ครอบครัวเข้มแข็ง โดยจัดการศึกษาที่เป็นระบบ โดยนักเรียนมาเรียนได้สองผลัด ผัดเช้าและบ่าย นักเรียนสามารถเลือกได้ ทำให้ครึ่งหนึ่งของนักเรียนอยู่ในความดูแลของครอบครัว ครึ่งหนึ่งอยู่ในความดูแลของโรงเรียนที่มีเสริมหนุนส่งเสริมกันและกัน เด็กสามารถเรียนรู้การประกอบอาชีพของครอบครัวช่วยเหลือครอบครัวในการทำงานได้ขณะเดียวกันการเรียนรู้ที่โรงเรียนก็ช่วยให้การเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวและของท้องถิ่นชุมชนได้ ทำให้โรงเรียนไม่ต้องสร้างอาคารมาก แต่สามารถรับเด็กนักเรียนได้มากขึ้น แต่คิดว่าคงไม่ลดครูลงแต่ใช้ครูอย่างมีประสิทธิภาพ ดังจะเห็นได้จากว่าเขาให้ความสำคัญกับครูอาชีพมาก ครูไม่จำเป็นต้องไปหารายได้เสริมเพราะให้เงินเดือนครูสูงเช่นเดียวกับผู้พิพากษาและอัยการ ครูที่เข้ามาในระบบจึงเป็นครูที่มีคุณภาพ จึงทำการสอนให้ความรู้ควบคู่กับคุณธรรมได้ดีกว่าจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมมาตรฐานการศึกษาในประเทศมาเลเซียจึงสูงกว่าของไทย และเมื่อจัดอันดับทางการศึกษาเมื่อใดก็จะสู้ของประเทศมาเลเซียและญี่ปุ่นไม่ได้ในทุกระดับดับทีเดียว

ฉะนั้นที่เราบอกว่าจะจัดการศึกษาให้ชุมชนเข้มแข็งนั้นก็ต้องมาเน้นไปที่การศึกษาให้ครอบครัวเข้มแข็งเสียก่อน ทำอย่างไรให้คุณภาพชีวิตในระดับครอบครัวดีแล้ว คุณภาพชีวิตของชุมชน ก็จะดีตามขึ้นมาเอง ความยากจนก็จะลดน้อยลงได้ และจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนกว่า ส่วนจะทำอย่างไรนั้น คงต้องแก้ที่การศึกษาอย่างเป็นระบบ ที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความร่วมมือ มหาวิทยาลัยก็ต้องมีรายวิชาที่ช่วยให้ครอบครัวเข้มแข็ง เช่นวิชาเลี้ยงดูลูก การปลูกฝั่งในด้านจริยธรรม คุณธรรมในทางปฏิบัติต้องมีมากขึ้น และที่น่าจะมีอย่างยิ่งก็คือหน่วยงานที่จะต้องให้ความช่วยเหลือแก้ปัญหา เช่นเมื่อผู้เรียนประสบปัญหาทางการเงินจะช่วยเหลือ อย่างไรไม่ใช่ไม่มีเงินก็ไม่ให้เข้าเรียนดังที่เป็นอยู่ ผลักให้เข้าไปแสวงหาความช่วยเหลือที่อื่นก็ไม่เข้าเรียนที่เรา เราควรมีหน่วยงานช่วยเหลือ เช่นการช่วยเหลือด้านการกู้ยืม ด้านการหางานให้ทำ หรือส่งเสริมครอบครัวให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นอย่างไร และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจเช่นนี้ จะช่วยเหลือชุมชนครอบครัวอย่างไรเป็นต้น หากสถาบันอุดมศึกษาจะยึดหลักว่ายิ่งให้ยิ่งได้ ก็ต้องมีมาตรการต่างๆ ในการให้ความรู้ความคิดเพื่อให้ครอบครัวชุมชนเข้มแข็ง แล้วมหาวิทยาลัยก็จะเข้มแข็งไปด้วยกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น