หน้าเว็บ

วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

กฏหมายต้องรู้

กฏหมายเป็นจำนวนมากที่ประกาศใช้แล้วนั้น ถือว่าทุกคนต้องปฏิบัติตามจะฝ่าฝืนไม่ได้ จะอ้างว่าไม่รู้ หรือจะอ้างว่าใครหน้าไหนจะรู้กฏหมายได้ทั้งหมดก็ตาม เป็นเรื่องจริงที่อาจไม่รู้กฏหมายทั้งหมด แต่เมื่อไม่แน่ใจก็ควรจะได้ปรึกษาผู้ที่รู้กฏหมายมากกว่า ที่เล่าเรียนมาเกี่ยวกับกฏหมายโดยตรงไม่ว่าผู้พิพากษา อัยการ และทนายความก็ตาม และแม้แต่ผู้ที่เรียนมาทางกฏหมายดังกล่าวก็ใช่ว่าจะรู้เรื่องกฏหมายในทุกกรณีทุกเรื่องไปเสียทั้งหมด ถ้าไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญในกฏหมายนั้นๆ ก็ต้องเปิดตัวบทกฏหมายเช่นกันเพียงแต่จะตีความเข้าใจกฏหมายได้ดีกว่า ความไม่รู้กฏหมายไม่อาจนำมาเป็นข้ออ้างแก้ตัวให้พ้นผิด เมื่อมีการประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาถือว่าทุกคนต้องรู้แล้ว จะอ้างว่าไม่รู้กฏหมายไม่ได้ เพราะมิฉะนั้นแล้วใครไม่รู้กฏหมายก็ไม่ต้องรับโทษ แต่ผู้รู้กฏหมายกลับได้รับโทษแต่ฝ่ายเดียว




ตามความหมายของกฏหมายที่เราเรียนรู้กันตั้งแต่ในโรงเรียนนั้น ตามแบบเรียนได้กำหนดไว้ว่า หมายถึงคำสั่งหรือระเบียบ ข้อบังคับที่ผู้มีอำนาจรัฐบัญญัติขึ้น ที่ผู้มีอำนาจในรัฐหรือผุ้มีอำนาจเหนือรัฐประเทศบัญญัติขึ้น เพื่อควบคุมความประพฤติ และให้ประชาชนปฏิบัติตาม ลักษณะของกฏหมายจึงมีลักษณะเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับให้กระทำหรือห้ามมิให้ กระทำ และกฏหมายมีผลบังคับใช้โดยการประกาศผ่านทางหนังสือของทางราชการที่เรียกว่า ราชกิจจานุเบกษา กฏหมายต้องบังคับแก่ผู้ฝ่าฝืน โดยผู้นั้นจะต้องได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ

ผู้ที่ทำผิดกฏหมายในทางอาญา เมื่อมีความผิดจริงตามข้อกล่าวหา ตามหลักฐานแวดล้อมแล้วย่อมต้องได้รับโทษ 5 สถานคือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพสิน โทษที่ใช้บังคับกันมากที่สุดคือจำคุกและโทษปรับ ส่วนการที่บุคคลไม่ปฏิบัติไปตามกฏหมายในทางแพ่ง จะถูกบังคับให้ชำระหนี้ ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหายนั้น

กฏหมายมีหลายประเภทที่ตราขึ้นมาเพื่อก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในบ้าน เมือง ส่งผลให้มีความสงบสุข มีความมั่นคง ความเจริญทางเศรษฐกิจดังที่กล่าวกันว่าอยู่ดีมีสุข จากการที่จัดให้ประชาชนได้รู้จักสิทธิหน้าทีของตนตามกฏหมาย เช่นกฏหมายรัฐธรรมนูญอันเป็นกฏหมายสูงสุดของประเทศ กำหนดสิทธิของประชาชนว่าเขามีสิทธิอะไรบ้าง ทำอะไรต่างๆได้บ้างตามที่กฏหมายกำหนดไว้ ถ้าใครขัดขวางการใช้สิทธิดังกล่าวย่อมได้รับการคุ้มครองจากฏหมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น