หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ภาษาดิ้นได้จากการเทียบเคียงเปรียบเปรย

เมื่อไรก็ตามี่เราพูดว่านุ่งลมห่มฟ้า เกือบทุกคนอาจเข้าใจทันทีว่าไม่ได้สวมเสื้อผ้าหรือเปลือยกายนั่นเอง และไม่มีใครที่สามารถจะนุ่งลมได้ แต่เป็นการเปรียบเปรยกับอากาศที่เรามองไม่เห็น ไม่ว่าอากาศจะมากั้นอะไร เราก็ยังมองผ่านอากาศไปได้ และยิ่งคำว่าห่มฟ้า ก็เป็นการเปรียบเปรยว่าไม่มีอะไรจริงๆ ที่ห้อมล้อมตัวอยู่มีแต่ท้องฟ้าที่ยิ่งใหญ่กว่าสิ่งใดๆ แต่อย่างไรกก็ตามยังมีเพลงหนึ่งขึ้นต้นด้วย ... เห็นลมละเมอเพ้อหวาดผวา เห็นฟ้าแล้วยิ่งปวดใจ ก็คงเข้าใจกันว่าที่ว่าเห็นลมนั้นคงไม่ได้เห็นลมจริงๆ ตามที่พูด แต่คงเห็นองค์ประกอบและบริบท แล้่วถึงกับทำให้ละเมอ เพ้อ หวาดผวาไปได้ แต่เห็นฟ้าก็พอเป็นไปได้กว่าเห็นลม ไม่ต้องตีความกันให้มากตามประสาคนอ่อนภาษาไทย




ประโยคที่คล้องจองที่ เราพูดกันบ่อย คือน้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า ถ้าไม่คิดอะไรเหมือนกับว่าเป็นเหตุเป็นผลกันดี แต่ในประโยคแรกหลายคนบอกว่าไม่ถูกต้องที่จริงเรือต้องพึ่งน้ำเสียมากกว่า ส่วนประโยคหลังเสือพึ่งป่ายังพอเป็นไปได้ อย่างไรก็ตามเราก็ยังคงใช้อยู่เหมือนเดิมแม้ว่าจะไม่ค่อยสมเหตุผล จนกว่าใครจะหาคำคล้องจองที่ดีกว่านี้ แล้ให้ความหมายเดียวกัน แต่ยังไงก็สู้ของเก่าไม่ได้เพราะใช้กันมาหลายชั่วอายุคนแล้วจนเข้าใจกันดี

ส่วน การเทียบเคียง เช่นคนขี่เรือ แล้วเรื่อขี่คลอง (อาจเป็นน้ำ ทะเล มหาสมุทร) ถ้าคนขี่รถ แล้วรถก็คงขึ่ถนนได้ ถ้านั่งเครื่องบินแล้วเครื่องบินคงจะขี่อากาศหรือ (ฟ้า) เชื่อหรือไม่ที่ผมยกมาดังกล่าวนี้มักจะเจอในความคิดของเด็กๆ ตั้งแต่เด็กเล็ก อนุบาลและประถม เพราะเด็กจะจินตนาการได้ดีกับสิ่งที่เขารู้จัก ยังคิดคำอื่นๆ ได้น้อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น