หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ภาษาดิ้นได้เมื่อย่นย่อแต่ก็เข้าใจ

ปัจจุบันภาษาตลาดที่เป็นสำนวนเฉพาะที่ หรือชั่วคราวในระยะเวลาหนึ่ง เขาจะพูดกันสั้นๆ แต่อีกยุคสมัยอาจจะไม่รู้เลยว่าหมายถึงอะไร หรือคนรุ่นต่อมาก็อาจละเลือนหายไปไม่มีการพูดถึง มีบางสำนวนที่คล้องจองกันยังมีการพูดถึงกันบ้าง เพราะมาจากสุภาษิตคำพังเพยบ้าง เช่นคำว่าสีตีนยังพลาดนักปราญช์ย่อมรู้พลั้ง เวลาพวกเรานำมาใช้กันไม่รู้แปลงไปเป็น "สีตีนย่อมช้าง"ได้อย่างไร แต่ก็เข้าใจทันทีว่าหมายความเช่นนั้นแหละ .


ความจริงที่มาของคำไม่ได้ถูกตามตรรกะเท่าไหร่ เพราะไม่ว่าจะกี่ตีนยังพลาดได้ทั้งนั้น แต่ก็พอมีเหตุผลอยู่บ้างที่ถ้ามีสีตีนน่าจะยืนได้มั่นคงกว่าสองตีน เช่นเดียวกับคนยืนตีนเดียวก็คงสู้สองตีนไม่ได้ แต่ไม่ว่ากีตีนก็พลาดพลั้งได้ทั้งนั้น การพูดว่าสี่ตีนย่อมช้างนั้นจะว่าไปก็แทบไม่มีตรรกะใดๆ เช่นกันเพราะ สีตีนย่อมหมาย่อมแมวอะไร ก็ได้ ถ้าตีความทีก็เหมือนกับกำปั้นทุบดิน เพราะแน่นอนอยู่แล้วเห็นในเชิงประจักษ์ว่าเป็นจริงแน่ คิดต่อไปได้ว่าไม่มีใครที่ไม่เคยพลาดพลั้ง ต้องมีผิดพลาดกันทั้งนั้น จึงต้องระมัดระวังไม่ให้ผลั้งเผลอเป็นความผิดพลาดที่ซ้ำซาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น