หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การเงินงบประมาณอุดมศึกษา

สถาบันอุดมศึกษาที่เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐนั้นโดยทั่วไปได้รับงบประมาณแผ่นดินเป็นหลักประมาณ 80 เปอร์เซนต์ และรายได้จากเงินบำรุงการศึกษาหรือค่าเล่าเรียนประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ส่วนรายได้อื่นมหาวิทยาลัยส่วนมากมีรายได้น้อยมากจนอาจไม่นำมาคิดเป็นงบประมาณรายรับรายจ่ายประจำปี โดยทั่วไปงบประมาณแผ่นดินอนุมัติโดยสภาผู้แทนราษฏร์ ส่วนงบประมาณจากรายได้อนุมัติโดยสภามหาวิทยาลัย


สำหรับงบประมาณแผ่นดินนั้นถือว่าเป็นงบประมาณที่ตั้งขึ้นแบบ Supply Side โดยตั้งตามหมวดงบประมาณ ตามหน่วยงาน ตามแผนงาน และตามโครงการ ดังนั้นงบรายได้ส่วนใหญ่จึงเป็นงบที่ได้จากความต้องการของท้องถิ่น หรือ Demand Side และไม่ว่าที่มาจากงบใด ที่ขาดไม่ได้ที่จำเป็นต้องจัดให้เสมอคืองบเงินเดือนและค่าตอบแทนประมาณ 65 เปอร์เซ็นต์ในประเด็นนี้จึงทำให้เห็นว่าจะมีงบประมาณที่จะลงไปเพื่อพัฒนาและเพิ่มคุณภาพ ประสิทธิภาพได้น้อย เพราะการใช้งบประมาณให้เงินประโยชน์สูงสุดจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะงบประมาณส่วนใหญ่ด้าน supply side มักไปใช้ในการก่อสร้าง การวิจัย และโครงการพิเศษต่างๆ

การบริหารการเงิน ตั้งแต่การตั้งและควบคุมงบประมาณ การอนุมัติและการเบิกจ่ายตามระเบียบ การเก็บรักษาเงิน การควบคุมการไหลของกระแสเงิน การทำบัญชีและการควบคุมเอกสารสำคัญ การทำงบดุลและการแสดงผลการประกอบการเงิน การใช้ระบบและกระบวนการทางการเงินงบประมาณควบคุมการดำเนินงานภายในมหาวิทยาลัย การคำนวณวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต การสร้างเงินกองทุนเพื่อการพัฒนาอย่างมั่นคง การระดมเงินทุนจากแหล่งต่างๆ การหาแหล่งลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่มหรือเพื่อดอกผลสูงสุด การตรวจสอบภายในและภายนอก ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นขอบข่ายของการบริหารเงินในมหาวิทยาลัยที่สามารถทำได้อย่างโปร่งใส สร้างมูลค่าเพิ่มได้เป็นแนวทางในการเพิ่มรายได้ให้กับมหาวิทยาลัยได้ สิ่งที่มหาวิทยาลัยของรัฐไม่ทำกันก็คือการทำบัญชีแสดงกำไรขาดทุน บางครั้งทำให้ส่งผลถึงประสิทธิภาพในการบริหารงานอื่นๆด้วย

มีแนวโน้มว่าสถาบันอุดมศึกษาต้องแสวงหารายได้มากขึ้นดังเช่นในมหาวิทยาลัยในกำกับ ซึ่งการบริหารการเงินอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญ ต้องควบคุมรายจ่ายและต้นทุนเอง ทำบัญชีรายรับรายจ่ายเป็นงบประมาณของมหาวิทยาลัย ต้องมีการวางแผนปรับเปลี่ยนให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงเมื่อรายได้ไม่พอ ต้องลดรายจ่ายปรับปรุงรายรับ หรือดึงเอาเงินสำรองมาใช้ ในกิจการใดก็แล้วแต่เมื่อมีกำไรจะต้องกันเข้ากองทุนสำรองไว้ ฝ่ายบริหารต้องมีความรับผิดชอบและภาระรับผิดชอบ สภามหาวิทยาลัยต้องรับผิดชอบในการบริหารเช่นกันในลักษณะบอร์ดของบริษัท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น