หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประโยชน์ของบทความวิชาการ

งานเขียนทางวิชาการในรูปของสื่อสิ่ง พิมพ์ในรูปของกระดาษ และในรูปของดิจิทัลมีที่ไปที่มา ที่อาจมาจากการเขียนรายงานการวิจัย หรือมาจากส่วนหนึ่งของงานวิจัยที่นำมาเขียนเป็นบทความ งานวิจัยหนึ่งๆ อาจนำไปเขียนได้หลายบทความ นอกจากนี้ผลงานเขียนอาจจะได้จากการเรียบเรียง ประมวลจากประสบการณ์ จากเอกสารบทความจากแหล่งพิมพ์ต่างๆ นำมาประมวลบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อให้ความรู้ก้าวหน้าขึ้น ซึ่งอาจออกมาในรูปของการประยุกต์ การเชื่อมโยงหาความสัมพันธ์ และการคาดคะเนพยากรณ์เหตุการณ์ ปรากฏการณ์ที่ดำรงอยู่ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร หรือจะเกิดอะไรเกิดขึ้นถ้ามีเหตุและปัจจัยบางประการเป็นต้น


แน่นอนว่าเนื้อหาของบทความทางวิชาการต้องมีความกระชับ เชื่อมโยงเรื่องราวที่ให้ผู้อ่านได้เข้าใจเรื่องสำคัญที่ผู้เขียนต้องการ สื่อให้ผู้อ่าน ในส่วนของผู้เขียนก็จะต้องมีจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่า เช่นเพื่อให้ทิศทางแน้วโน้มแก่ผู้อ่าน โดยบอก แจ้ง อธิบาย แ่ลกเปลี่ยนความคิดเห็น เตือน หรือเพื่อเป็นการเพิ่มพูนทางวิชาการ เป็นการให้การศึกษาอย่างหนึ่ง รวมทั้งการสนับสนุนส่งเสริมแนวความคิดหรือความรู้ที่ดีกว่า หรือการทำความจริงให้ปรากฏ ดังนั้นผู้เขียนจึงต้องเป็นผู้มีความรู้ในการวิเคราะห์ สังเคราะห์เรื่องราวต่างๆ และน่าจะเป็นคนที่รู้เรื่องที่เขียนเป็นอย่างดี และเขียนให้ผู้ที่ไม่รู้เรื่องอ่าน

ในทางวิชาการความน่าเชื่อถือของบทความเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับวารสารทางวิชาการจะมีทีมในการตรวจสอบบทความถูกต้องก่อนที่จะตีพิมพ์ ได้ในวารสาร และวารสารนั้นก็ต้องเป็นวารสารที่ได้รับการยอมรับมีทีมงานที่น่าเชื่อถือ ดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ วารสารที่นำผลงานทางวิชาการมาลงนั้นมักจะจำกัดขอบข่ายอยู่ในสาขาใดสาขาหนึ่ง เป็นการเฉพาะทาง กลุ่มคนที่สนใจก็มีอยู่จำกัดที่คนทั่วไปที่ไม่ได้ีมีพื้นฐานก็อาจจะอ่านเข้า ใจยาก นอกเสียจากว่าผู้เขียนที่เก่งๆ ที่เขียนแบบตีความให้คนทั่วไปได้เข้าใจได้ก็มีอยู่บ้าง

การที่จะบอกว่าคนเข้ามาอ่านบทความหนึ่งๆ มากน้อยแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับความสำคัญของบทความว่าเป็นเรื่องที่ยังคงอยู่ ในความสนใจ อยู่ในกระแสหรือไม่ ที่สำคัญก็คือมีผลกระทบต่อสังคมมากน้อยแค่ไหน ซึ่งหากบทความนั้นๆ ถูกนำไปใช้ในการอ้างอิงที่ต่างๆ มากก็คือว่าบทความนั้นก่อให้เกิดผลในวงกว้างออกไป ตามศัพท์วิชาการเรียนกว่า Impact factor การใช้ค่านี้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในสาขาเดียวกันก็คงจะได้ แต่คงจะเปรียบเทียบกับสาขาอื่นๆ ได้ยากขึ้นอยู่กับว่ามีคนทำงานที่เกี่ยวข้องกับสาขานั้นๆมากแค่ไหนด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น