หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เศรษฐกิจโลกที่อาจกระทบต่อไทย

เศรษฐกิจของโลกที่ตกต่ำอยู่เวลานี้นั้น กล่าวได้ว่าเป็นผลพวกจากการยุคแนว ทุน บริโภค และวัตถุนิยม ที่มีนักปราชญ์หลายสำนักได้บอกเตือนภัยมานานแล้วว่า “เป็นการพัฒนาที่เป็นไปในทางที่ก่อให้เกิดการทำลายล้างตัวเองย้อนกลับมา” เพราะก่อนที่เราจะมาเป็นระบบทุน บริโภคและวัตถุนิยม นั้นโลกของเราได้รับอิทธิพลจากแนวคิดแบบเดท์คาร์ท และนิวตันมามากกว่าสามร้อยปีมาแล้ว และฝังรากลึกอยากที่ปลดพันธนาการที่ก่อปัญหาออกไปได้หมด เราจะเริ่มเห็นความผิดพลาดต่างๆ มากขึ้น ยิ่งศึกษาไปข้างหน้ามากเท่าใดก็จะพบว่ามีปัญหา ใช้ไม่ได้มากเท่านั้น จากแนวคิดที่มองทุกสิ่งทุกอย่างเป็นกลไกหรือเครื่องจักร เป็นวัตถุที่มีความแข็งทื่อยืดหยุ่นได้น้อย ซึ่งเมื่อนำมาใช้กับชีวิต ยิ่งจะก่อให้เกิดปัญหามากเท่านั้น เพราะเป็นการมองแบบแยกส่วน และแน่นอนว่าส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของเราแม้ว่าเราจะมีเศรษฐกิจตามเศรษฐศาสตร์จุลภาคประสานกับมหาภาคแล้วก็ตาม


เราจะเห็นว่าประเทศที่เป็นยักษ์ใหญ่เช่นประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเหมือนต้นแบบที่นำระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมาใช้แล้วทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้า (เชิงวัตถุ) และเชิงวิทยาศาสตร์สังคม ในแง่ของวินัยกฏระเบียบได้ดี ทำให้ประเทศต่างๆ นำมาใช้เป็นแม่แบบในการพัฒนา แต่อย่างไรก็ตามการดำเนินตามโดยการลอกวิธีการต่างๆ มาโดยไม่ได้รับการปรับให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศก็ยิ่งก่อให้เกิดปัญหามากขึ้น และแม้แต่ประเทศสหรัฐอเมริกาเองก็เป็นเหมือนเป็นผู้ก่อให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้นมาเสียงเอง อันอาจจะเป็นผลจากการพัฒนาเศรษฐกิจที่ทำให้เน้นในเรื่องวัตถุ และเป้าหมายมากเกิน กว่าจะเกิดวิกฤษอเมริกาจะมีปัญหาเรื่องการตกแต่งบัญชีของบริษัท ทำให้ดูเหมือนว่ามีผลประกอบการดี ต่อมามีการไม่ชอบมาพากลในเรื่องการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เช่นการปั่นหุ้นที่อาจทำให้คนเสื่อมศรัธา ในระบบทุนนิยมที่เป็นอยู่ ต่อมาก็ปัญหาซับพรามซ์ (subprime) ที่มีการซื้อขาย จำนอง ปั่นราคาของหนี้ไปในทางที่ไม่ตรงกับที่เป็นจริงจึงก่อให้เกิดการขาดสภาพคล่องของธนาคาร ทำให้ธนาคารล้มไปก็มี และล่าสุดคงจะเป็นเรื่องการซื้อขายพันธบัตรของธนาคารด้วยความฉ้อฉลทำให้ธนาคารต้องล้มไปอีกเป็นต้น จากที่กล่าวมาเป็นตัวบ่งชี้ถึงความผันผวนทางเศรษฐกิจที่ทำให้คนที่กู้เงินมาไม่สามารถใช้หนี้ได้ ทำให้เปิดผลกระทบต่อไปเป็นลูกโซ่

สำหรับประเทศไทยนับว่าโชคดีที่ไม่ได้ผลกระทบโดยตรงจากวิกฤติเศรษฐกิจของโลกแบบเดียวกับอเมริกา แต่เนื่องจากยุโรปและอเมริกาเป็นตลาดสินค้าใหญ่ของไทย เมื่อประชาชนในประเทศดังกล่าวขาดกำลังซื้อก็สั่งสินค้าจากประเทศเราน้อยลง เราก็ขายสินค้าได้น้อยลง ดังเช่นตัวเลขจากการส่งออกลดลง ที่อาจส่งผลให้มีการลดการผลิต หรือปิดโรงงาน ปลดคนงาน ผู้รู้บางท่านได้กล่าวไว้ว่าประเทศไทยนับว่าโชคดีที่ไม่ได้นำเงินคงคลังไปลงทุนในรัฐบาลผลเอกสรยุทธ์ และแทบจะไม่มีการลงทุน เมื่อเปลี่ยนเป็นรัฐบาลพรรคพลังประชาชนก็มีการประท้วงกันมาก การเมื่องไม่มั่นคงก็ส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจการลงทุนก็ยังมีน้อยเช่นกัน และถ้าหากอยู่ในภาวะปกติมีนักลงทุนมาลงทุน ก็ต้องมีการกู้เงินจากธนาคารมาดำเนินกิจการ แต่เมื่อเกิดวิกฤติเช่นนี้ก็จะขายสินค้าไม่ได้ ไม่สามารถหาเงินมาใช้หนี้ธนาคาร ขาดสภาพคล่อง อาจถึงขั้นต้องปิดโรงงาน ปลดคนงานมากขึ้น ที่อาจส่งผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถอทอยอย่างรุนแรงมากกว่าที่เป็นอยู่ก็ได้ ก็นับว่าโชคดีที่ได้รับผลกระทบไม่รุนแรง และจากการมีปฏิวัติและการประท้วง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น