หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

แนวทางที่แตกต่างระหว่างวิทยาศาสตร์กับพุทธศาสนา

โดยทั่วไปวิทยาศาสตร์มุ่งเน้นศึกษาทางวัตถุทางโลก กล่าวได้ว่าเป็นวัตถุนิยมอย่างหนึ่ง ส่วนในทางศาสนานั้นมุ่งเน้นการฝึกจิตควบคุมจิตกล่าวได้ว่าอยู่ในพวกจิตนิยมได้ แต่ไม่ใช่ว่าในการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้ใช้จิต ก็ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่นเดียวกับจิตนิยมก็มีวัตถุเกี่ยวข้องแต่ไม่ใช่อยู่ในประเด็นหลัก ประเด็นที่ชี้ให้เห็นความแตกต่างได้ชัดคือการพิสูจน์ยืนยันความจริงในทางวิทยาศาสตร์และพุทธศาสนากล่าวคือ


วิทยาศาสตร์สนใจเรื่องวัตถุจึงใช้วิธีพิสูจน์แบบวัตถุที่ต้องทำให้ประจักษ์ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 และโดยผ่านทางเครื่องมืออุปกรณ์ที่ขยายขีดจำกัดของประสาทสัมผัสทั้ง 5 ดังกล่าวออกไป ในทางพุทธศาสนาเนื้อหาที่สนใจคือเรื่องของจิตจึงใช้วิธีการทางจิตคือการใช้สมาธิและวิปัสนาเป็นวิธีการในการพิสูจน์ เป็นวิทยาศาสตร์ทางจิตในทางพุทธศาสนา เช่นกฏแห่งกรรม กฏแห่งอริยสัจ ต่างก็เป็นการพิสูจน์โดยใช้สมาธิ วิปัสนาที่เห็นแจ้งปราศจากข้อสงสัยได้

วิธีการศึกษาในทางวิทยาศาสตร์ก็เพื่อให้ค้นพบความรู้ใหม่ หรือการสร้างองค์ความรู้ อาศัยการศึกษาวิจัยที่ใช้วัตถุเป็นหลักและประสาทสัมผัสในการศึกษา ส่วนในทางพุทธศาสนาศึกษาเรื่องของจิต และการควบคุมจิตเป็นการศึกษาแบบองค์รวม ต้องทำจิตให้สงบ เพื่อผลแห่งการบรรลุธรรม ที่ต้องใช้วิธีการฝึกปฏิบัติ สมถกรรมฐาน และวิปัสนากรรมฐานเพื่อให้เกิดปัญญา (ภาวนามยปัญญา)

ความรู้ที่ได้ทางวิทยาศาสตร์ อาจอยู่ในรูปของ กฏ ทฤษฎี หรือสมมุติฐานที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและที่สร้างสรรค์ขึ้น ที่มีการปรับปรุงพัฒนาต่อยอดให้มีความถูกต้องแม่นยำให้มากที่สุด เท่าที่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์จะอำนวยให้ได้ในขณะนั้นๆ ส่วนในทางศาสนาอาจมีเพียงกฏที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาที่ผ่านไปเป็นอกาลิโก อันเป็นสัจธรรมที่ได้มาจากการตรัสรู้จากสัมมาสัมโพธิญาณของพระพุทธเจ้า ซึ่งจะผิดไม่ได้ ซึ่งไม่เคยเปลี่ยนมาเลยตั้งแต่สมัยพุทธกาล และยังคงใช้ได้ดีในสมัยนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น