หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

นิคมอุตสาหกรรมกับการพัฒนาจังหวัด

แม้ว่าเมืองนครจะเคยกำหนดวิสัยทัศน์ว่าจะเป็นเมืองเกษตร เมื่องท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม และเชิงนิเวศหรืออนุรักษ์ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมายที่ควรจะเป็น รายได้ของประชากรก็ไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมาย รายได้หลักด้านเกษตรเห็นจะเป็นยางพารา ส่วนด้านอื่นๆ ทางเกษตรยังไม่อาจหวังได้ว่าจะเป็นอาชีพที่ยั่งยืน เพราะมีความผันผวนด้านราคา เป็นเศรษฐกิจพอเพียงได้ในแค่ระดับบุคคล ครอบครัว ระดับชุมชั้นก็ยังไม่เป็นรูปธรรมมากนัก


ในด้านการท่องเที่ยวก็ยังไม่อาจเป็นที่คาดหวังให้เป็นรายได้ของประชากร เพราะการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวยังไม่อาจดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาค้างคืนได้ จึงยังไม่เป็นที่สร้างรายได้ให้กับประชากรได้

เมืองนครแทบไม่มีอุตสาหกรรม ไม่มีโรงงานขนาดใหญ่ที่สร้างงานให้กับประชากรมากนัก ทำให้เมืองนครเป็นเมืองที่มีการย้ายถิ่นไปทำงานที่อื่นมากที่สุดจังหวัดหนึ่ง การไปทำงานในจังหวัดที่มีโรงงานอุตสาหกรรมมากกว่าไม่ว่าจะเป็นสุราษฎร์ สงขลาก็ตาม ขณะที่แหล่งอุตสาหกรรมอื่นๆ อาจจะเข้าสู่จุดอิ่มตัว ก็มีแนวคิดที่จะขยายมายังจังหวัดนคร ซึ่งยังมีที่ว่างสำหรับอุตสาหกรรมอีกมาก เรามีโครงการแลนด์บริดจ์ แล้วแต่ยังไม่มีภาคอุตสาหกรรม แต่พอเริ่มจะดำเนินการก็ได้รับการต่อต้านอย่างมากมายจากกลุ่มอนุรักษ์ เพราะไม่มีความเชื่อมั่นว่าจะนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต และทำให้สภาวะแวดล้อมเสียไปหรือไม่

การมีโรงงานอุตาหกรรม โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรม มีข้อดีหลายประการ เป็นแหล่งสร้างงานสร้างอาชีพให้พลเมืองในจังหวัด สถาบันการศึกษาต่างๆ ก็จะได้มีบทบาทในการศึกษาวิจัย ผลิตบุคลากรที่จะใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม โอกาสของพลเมืองที่จะได้ขายผลผลิตทางเกษตรเพื่อเป็นวัตถุดิบในโรงงานก็มีมากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจในจังหวัดดีขึ้นแน่ สิ่งที่ไม่มีความไม่มั่นใจก็ต้องมีการศึกษาผลกระทบ ที่อาจเกิดขึ้น ผลดี ผลเสียให้ชัดเจน ไม่ใช่ต่อต้านกันอย่างเดียว หรือดำเนินโครงการไปโดยไม่ดูผลกระทบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น