หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ภาษานอกแบบ

ภาษาที่เราใช้พูดกันนั้น เราไม่เคยนึกถึงหลักไวยากรณ์ว่าจะถูกจะผิดอย่างไร แต่ก็สื่อสารเข้าใจได้ บางครั้งก็ไม่เคยนึกด้วยซ้ำไปว่าประธานกริยาอยู่ยังไงแต่ก็เข้าใจได้ แต่พอนึกอยากจะพูดให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ก็อาจดูงงๆ ได้เหมือนกัน


เช่นคำที่คนใต้พูดคำว่าข้าวต้มมัดว่า "เหนียวห่อกล้วย" ถ้าคิดมากก็จะงงเพราะเป็นคำนามที่เกิดจากคำนามและกริยามาเรียงต่อเป็นประโยคหรือเป็นคำนามใหม่ พูดแค่นี้ก็อาจจะงงแล้วเพราะนึกๆไม่รู้อะไรห่ออะไร ถ้าบอกว่าเหนียว(ข้าวเหนียว)เป็นประธานก็น่าจะถูกต้อง แต่ถ้านึกอีกทีแบบพูดลัดสั้นที่หมายความว่าข้าวเหนียวห่อด้วยกล้วยก็ได้ เหมือนกับคำว่าผ้าใส่ถัง หรือถังใส่ผ้าทำนองนี้แหละ

บางครั้งในสถานศึกษาที่ต้องการฝึกให้นักศึกษาแต่งตัวให้เหมาะสม ให้สุภาพเรียบร้อยก็มีคำเตือนเขียนติดไว้ อาจจะพบคำว่ารับติดต่อเฉพาะนักศึกษาที่แต่งกายสุภาพ หรือถุกต้องตามระเบียบ บางที่ก็เขียนเตือนว่าโปรดเคารพสถานที่โดยแต่งกายที่สุภาพ มหาวิทยาลัยจังหวัดใกล้เคียงแห่งหนึ่งเขียนบอกว่า มหาวิทยาลัยมีที่ยืนเฉพาะคนที่แต่ตัวสุภาพเรียบร้อย แต่ทุกอย่างก็มีข้ออ้างข้อแก้ตัว ข้อหลีกเลี่ยงที่หาช่องทางของภาษาให้ไปให้ได้แบบหัวชนฝา แบบศรีธนนชัยก็มี เช่นบอกว่าไม่รับติดต่อ ก็บอกว่าเขาไม่ได้ติดไม่ได้ต่อแต่ยืนห่างๆ ก็ได้ ที่บอกว่าไม่มีที่ยืนก็ยังมีที่นั่ง ที่นอน ที่เดินก็แล้วกัน เลยมีมหาวิทยาลัยในจังหวัดเดียวกันอาจจะรู้ถึงข้ออ้างดังกล่าว เลยไม่มีข้อความเขียนไว้ แต่ทำเป็นรูปอะไรที่ไม่สุภาพก็ติดไว้ให้เห็น เช่นทำเครื่องหมายผิดที่รองเท้าแตะ เครื่องหมายผิดเสื้อยืดหรือสายเดี่ยวเป็นต้น

ภาษานอกแบบอีกลักษณะหนึ่งที่นำมาใช้สร้างความสนใจ หรือแปลกๆ เล่ากันให้ขำขันเสียมากกว่าแต่ก็คงเกิดขึ้นจริงและยังมีการนำไปใช้ มักเป็นเรื่องเล่าในการนำเข้าสู่บทเรียน สมัยหนึ่งจะสอนอะไร นักศึกษาครูก็มักจะได้รับคำแนะนำว่าห้ามพูดคำหรือวลีนั้น แต่ให้นักเรียนได้รู้จักจากอาการท่าทางบ้างคำอื่นๆบ้าง เช่นจะสอนมโนทัศน์ไอน้ำ ก็อาจแสดงอาการไอให้เห็นแล้วก็รินน้ำหรือชี้ให้ดูน้ำในแก้ว ผสมกันเป็นไอน้ำได้เหมือนกัน อีกคำหนึ่งก็นำเข้าสู่บทเรียนว่า รถอะไรร้อนๆ ก็จะได้คำตอบว่ารถไฟนั่นเอง ..เออช่างเป็นไปได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น