หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เมื่อชื่อต้นไม้บอกใบ้เป็นนัย

ต้นไม้มีมากมายหลากหลายพันธ์เป็นล้านๆ ชนิดก็คงมีเป็นล้านๆ ชื่อเช่นเดียวกัน น่าขอบใจคุณลินเนียส อันเป็นคนที่ได้ออกแบบการเรียกชื่อพืชสัตว์ไว้อย่างเป็นระบบ โดยเขาได้จัดหมวดหมู่พืชและสัตว์ไว้แล้วพัฒนามาเป็นอนุกรมวิธานตามที่เราใช้ กันในปัจจุบัน


โดยทั่วไปเรามักจะรู้จักต้นไม้ที่คุ้นเคยอยู่ในท้องถิ่น หรือต้นไม้ที่สนใจ มีความแปลก มีความสวยงาม ซึ่งเมื่อพบต้นไม้ที่เจอบ่อยๆ แ่ต่ไม่ค่อยรู้จักชื่อก็มักจะถามกันใครรู้จักบ้าง เป็นข้อสังเกตว่าใครที่ปลูกต้นไม้ใดไว้ย่อมรู้จักชื่อต้นไม้ชนิดนั้นถ้าไป ถามก็คงจะได้คำตอบไม่ผิดหวัง ก็มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ไปถามชื่อต้นไม้ที่เขาปลูกไว้ในกระถางบนโต๊ะในที่ทำ งาน ก็ได้รับคำตอบว่าชื่อ “รวยไม่เลิก” นี่ถ้าเป็นจริงตามชื่อคงมีคนปลูกกันมากมาย เพราะใครๆ ก็อยากรวย แต่ถ้าปลูกเอาเคล็ดไว้บ้างก็จะดีเหมือนกัน เช่นเดียวกับว่าปลูกต้นมะยม ต้นขนุนไว้หน้าบ้านแล้วเชื่อว่าคนจะนิยมชมชอบสนับสนุน ความจริงแค่ชื่อคล้ายๆ มะยม กับนิยม ขนุน กับสนับสนุน

เมื่อนึกถึงชื่อต้นไม้อื่นๆ เช่นพวกสมุนไพรบางอย่างเช่น ฟ้าทลายโจร ว่านชักมดลุก ว่านโด่ไม่รู้ล้ม ถ้าดูตามความหมายแล้วชื่อฟ้าทลายโจรดูจะให้ความหมายไปทางที่ดี เพราะสามารถไปเป็นยาแก้หวัดได้ เปรียบโรคหวัดเหมือนกับโจรที่ฟ้าต้องทำลายได้ แต่ชักมดลูกกับโด่ไม่รู้ล้มนี้คงมองได้ทั้งแง่ดีและแง่ไม่ดีขึ้นอยู่กับการ ตีความ แต่เมื่อมองย้อนไปสมัยคุณลินเนียสตั้งชื่อก็ไม่ใช่นเล่นเหมือนกันบางคนก็ บอกว่าตั้งชื่อหยาบโลน ทะลึ่งไปบ้าง โป้มากเกินไปบ้าง เช่นที่ยังคงมีใช้ในปัจจุบัน เช่นต้น พิสสาเบด (pissabed) ที่หมายถึงฉี่รดที่นอนที่มีคุณสมบัติไปในทางขับปัสสาวะ ต้นแมรส์ฟาร์ต (mare’s fart) ซึ่งหมายถึงตดม้า ต้นแนกคิดเลดี (naked lady) หมายถึงสาวเปลือย ทวิตช์บอลล็อก (twitch-ballock) หมายถึงกระตุกอัณฑะ โอเพนอาร์ส (open arse) หมายถึงเปิดก้น ต้น คลิทอเรีย ฟอร์นิคาทา ที่คำแรกหมายถึงปุ่มกระสัน ส่วนคำหลังหมายถึงการลักลอบมีสัมพันธ์กัน และยังมีคำอื่นๆ อีกมาก ถ้าดูตามที่ตั้งชื่อไว้ดังกล่าวแล้วเหมือนกับจะบอกว่าต้นมีเพศหญิงชาย มีอารมณ์รัก ซึ่งสอดคล้องกับคนตั้งชื่อที่มีประวัติการหลงใหลใผ่ผันในทางกามารมณ์อยู่บ้าง

จากนี้จะเห็นว่าไม่รู้ว่าใครเลียนแบบใครระหว่างการตั้งชื่อของไทยกับของ ที่ ลินเนียสจัดกลุ่มตั้งชื่อไว้ โดยเขาได้ตั้งชื่อพันธุ์พืชและสัตว์ถึง 13000 ชนิด แม้ไม่มากที่สุดเท่าคนอื่นแต่หลักการในการจัดแบ่ง มีความสอดคล้องเป็นระเบียบเรียบง่าย ไม่ล้าสมัย เป็นที่ยอมรับกันตั้งแต่ปี 1760


อ้างอิง A Short History of Nearly Everything by Bill Bryson

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น