หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

หยุดการคิดเข้าสู่นิพานแบบลัดสั้น

เมื่อได้อ่านหนังสือ ที่คุณศุภวรรณกรีน ได้เขียนหนังสือชื่อใบไม้ในกำมือ ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเป็นการตีความศาสนาเพื่อการปฏิบัติที่ลัดสั้น และเข้าใจได้ไม่ยาก โดยการยกตัวอย่างปัญหาของคนทั้งสิ้นทั้งปวงนั้นมาจากการคิด ถ้าคิดมากก็เป็นโรคเคลียด โรคประสาท ถ้าเราสามารถทำให้หยุดคิดได้เราก็จะไม่เป็นโรคประสาท ไม่เครียด ไม่เป็นทุกข์ นั่นเอง ท่านเรียกอาการแบบนี้ว่า เป็นการพาใจกลับบ้านเข้าสู่ผัสสะอิสระ โดยการฝึกสติปัฎฐาน 4 โดยยกเอาธรรมที่แบ่งออกเป็น 5 กองที่เรียกว่าขันธ์ทั้ง 5 อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยสิ่งที่ทำให้กิดการคิดนั้นอยู่ที่ 4 ประเภทหลัง เป็นฝ่ายของจิต และในประการสุดท้ายคือวิญญาณนั้น เป็นที่รู้ตัวทั่วพร้อมคือใจอันเป็นที่รองรับทางจิต หรือเป็นตัวรับทางจิต ส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับรูปทางกาย อันประกอบด้วยประสาทรับสัมผัส 5 และมีใจเป็นตัวรับสัมผัสจิตเป็นสัมผัสทางใจ ซึ่งแน่นอนว่าเกี่ยวเนื่องมาจากการรับสัมผัสทางกาย โดยให้เปรียบเทียบที่ง่ายๆ คือ


เมื่อเรามองดูอะไรเห็นภาพนั้น เรียกว่าเป็นตาเนื้อหรือตากาย ซึ่งมองเห็นภาพตามสถานะการณ์จริง แต่ถ้าเมื่อไรที่เราหลับตา แล้วนึกถึงภาพ นึกถึงความรู้สึก เช่นใครหยิกให้เจ็บ เราใช้ใจในการมอง ซึ่งความคิดเข้ามาเกี่ยวข้องในกรณีนี้ เราจะพบว่าคนเรานั้นแม้ว่าจะหลับตา แต่ก็มีความคิดได้ ยังนึกถึงเรื่องราวต่างๆ ใส่ความรู้สึกอยู่ในใจได้ นั่นคือสิ่งที่แยกกันระหว่าง รูปกับจิต อันมีใจเป็นตัวรับ

เมื่อไรก็ตามที่เราฝึกให้ไม่คิด หรือ เริ่มจากให้คิดในเรื่องเดียวกันจากการฝึกสติปัฏฐานสี่นั้น เช่นวิธีอาณาปณสติที่ใช้ใจในการเฝ้าติดตามลมหายใจ ไม่ให้คิดเรื่องอื่นๆที่ทำให้ใจเป็นทุกข์ จึงเป็นหนทางที่ลัดสั้นเข้าสู่นิพาน ที่เรียกว่าพาใจกลับบ้านอยู่สภาวะผัสสะบริสุทธ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น