หน้าเว็บ

วันพุธที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สาเหตุที่โลกหนักมากขึ้น

แสงอาทิตย์ก็มีน้ำหนักเช่นเดียวกัน มีการคำนวณกันว่าในพื้นที่ 2.5 ตารางกิโลเมตรถ้าช่างน้ำหนักแสงได้ประมาณ 1 กิโลกรัม และเมื่อคำนวณปริมาณพื้นที่โลกทั้งหมดที่มีแสงแดดมากระทบแต่ละวัน หากชั่งได้แสงที่ตกใส่โลก มีน้ำหนักถึง 87000 ตัน (โลกในศตวรรษที่ 21,อุทัย วงศ์ไวสยวรรณ หน้า 127) ตามหนังสือนี้อธิบายแต่เพียงว่า แสงจากดวงอาทิตย์ที่ตรวจวัดได้ เพราะไปเพิ่มแรงกดดันในทุกสิ่งที่ขวางมันไว้ ซึ่งก็ไม่ได้ความรู้ตามหลักวิทยาศาสตร์มากนัก แถมยังสับสนอีกด้วย ถ้าจะอธิบายกันตามหลักวิทยาศาสตร์กันจริงแล้ว จะเริ่มจากหลักการใหญ่ซึ่งจะเป็นหลักการทางฟิสิกส์ที่ใช้อธิบายครอบคลุมได้หมด


จากการค้นพบจากการคำนวณเชิงทฤษฎี ทำให้ไอนสไตย์สรุปได้ว่าสสารและพลังงานสามารถแปลงกลับไปมากันได้ตามสูตรพลังงาน (E) เท่ากับมวล (m) คูณกับความเร็วแสงยกกำลังสอง (c^2) นั่นคือแสงเป็นพลังงานสามารถคิดเทียบเป็นมวลได้ เพราะแสงเป็นพลังงานจึงเปลี่ยนรูปไปเป็นพลังงานรูปอื่นๆ ได้ เช่นความร้อน เปลี่ยนเป็นพลังงานศักย์ในกระบวนการสังเคราะห์แสงของต้นไม้ที่เป็นมวลซึ่งมีน้ำหนักในรูปของแป้งน้ำตาลเป็นต้น

จากนี้จะเห็นว่าถ้าเมื่อไรก็ตามถ้ามีพลังงานมาตกกระทบโลกแล้ว ไม่ได้สะท้อนออกกลับออกไปหมด แล้วพลังงานที่ตกค้างอยู่บนโลกก็แปลงไปเป็นมวลหรือเทียบเคียงเป็นน้ำหนักตามแรงดึงดูด่ของโลกได้ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าแสงหรือพลังงานรูปอื่นใดที่มากระทบโลกส่งผลให้โลกมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นทั้งสิ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น