หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การเมืองเรื่องของอำนาจและผลประโยชน์

เคยอ่านในหลายที่ต่างกรรมต่างวาระว่า การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจและผลประโยชน์ ในกระบวนการประชาธิปไตย โดยประชาชนใช้อำนาจในการเลือกผู้แทนซึ่งได้แก่นักการเมืองในพรรคการเมืองไปจัดตั้งรัฐบาล รัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนประชาชนในการจัดสรรผลประโยชน์ให้ประชาชนส่วนใหญ่ให้ได้รับผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมให้มากที่สุด


โดยการใช้อำนาจทางการบริหารของรัฐบาล ในการกำหนดนโยบายที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในทางที่ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น มีรายได้สูงขึ้น ที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นหลักการ แต่ในทางปฏิบัตินั้น กลับปรากกฏว่า การใช้อำนาจของนักการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภา กลับนำไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน และมีผลประโยชน์ทับซ้อน นโยบายบางอย่างกลับให้ประโยชน์แก่เฉพาะกลุ่ม เป็นที่มาของคอร์รัปชั่นมากมาย และนักการเมืองเมื่อมาเป็นรัฐบาลก็หวังในผลประโยชน์ที่ได้รับด้วย หรือโอกาสที่จะหาผลประโยชน์เมื่อทราบข้อมูลข่าวสารก่อน เช่นรู้ว่าจะตัดถนนผ่านที่ใดก็ไประดมซื้อที่ดินในราคาถูก เมื่อถนนผ่านก็สามารถขายได้ในราคาแพงเป็นต้น หรือออกกฏหมายเอื้อให้กลุ่มของตัวเอง ครอบครัว พรรคพวก อย่างเห็นได้ชัด นี่เป็นเพียงตัวอย่างเพียงน้อยนิด และนักการเมืองส่วนใหญ่หลังจากเป็นผู้แทนแล้วก็จะมีฐานะทางการเงินดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่โดยตัวเองก็ในเเครือญาติ จึงทำให้คนในสังคมเข้าใจว่าส่วนใหญ่นักการเมืองเป็นคนไม่ดี ยังหวังเข้ามาเพื่อกอบโกย หรือถอนทุนจากการที่ต้องทุ่มเงินไปตอนเลือกตั้ง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำแหน่งรัฐมนตรีทั้งหลายเป็นตำแหน่งที่ให้คุณให้โทษ จึงได้รับการเคารพเป็นอย่างสูงเป็นที่เกรงอกเกรงใจ จึงเป็นที่มีของเงินสินบน เงินเปอร์เซ็นต์ที่รัฐมนตรีมักจะมีข้อครหา เราจะเห็นว่าผลประโยชน์ในด้านเงินทองทรัพย์สิน อันเป็นที่มาของคอร์รับชั่นนั้น มีส่วนทำให้ประเทศไม่เจริญ และเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่เยาวชน ทำให้เป็นแบบอย่าง ถือว่าการไม่ซื่อสัตย์เป็นเรื่องเล็กน้อยทั้งที่เป็นเรื่องที่สำคัญ จะเห็นว่าสังคมตะวันตกนั้นเน้นเรื่องความซื้อสัตย์มาก โดยเฉพาะการพูดโกหก ถ้าจำได้ว่าไม่ซื่อสัตย์ในเรื่องนี้แล้ว ถ้าเป็นสามีภรรยาก็ตามมาด้วยการหย่าร้าง เป็นนักการเมืองก็จะถูกสังคมลงโทษ สื่อช่วยกันตำหนิจนต้องลาออกไป แต่สังคมใดที่ถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเล็กน้อยแล้วละก็จะเกิดปัญหาไม่มีที่สิ้นสุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น