หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สถานะการณ์ชาวสวน


ปีนี้นอกจากยางพาราจะราคาตกต่ำแล้ว ถึงจะขับยับสูงขึ้นก็คงได้เพียงได้เพียงครึ่งหนึ่งของปีที่ผ่านๆ มา และปีนี้นอกจากยางพาราจะยังราคาทรงตัวอยู่แล้วยังมีสถานะการณ์ผลไม้คอยซ้ำเติมอีก ที่พืชผลบางชนิดเช่นมังคุดที่ส่วนใหญ่ไม่ได้ออกผลอันเนื่องจาก การเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศที่ไม่ค่อยจะตรงฤดูกาลนักในปีที่ผ่านมา มาในปีนี้ก็มีความโน้มเอียงที่ได้ผลผลิตน้อย อันเนื่องจากฝนตกไม่ตรงฤดุกาล มังคุดที่ออกดอกมาแล้วก็คงไม่มีปัญหาอะไรก็คงจะติดลูกได้พอควร แต่ที่ยังไม่ออกดอก กลับจะออกเป็นยอดแทนอีกปีหนึ่ง ก็น่าที่จะต้องเฝ้าจับตามองดูว่าลมฟ้าอากาศจะส่งผลมากน้อยแค่ไหนต่อไป ไม้ผลอีกชนิดที่อาจส่งผลด้วยเหมือนกันคือเงาะ อาจจะออกดอกน้อยลงส่งผลให้มีผลผลิตน้อยได้เช่นกัน


เมื่อมาคิดดูแล้วพืชผลทั้งหลายนั้นยังขึ้นอยู่กับธรรมชาติอีกมาก ถ้าหากสามารถควบคุมให้ออกดอกได้ ก็จะได้ผลตามกำหนด ซึ่งหลายคนพยายามทำอยู่แต่ก็ได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง ขณะนี้เราขาดนักวิชาการอย่างมากที่จะแนะนำ ชาวสวน ทำอย่างไรที่จะหลีกเลี่ยงภาวะการขาดทุน หรือให้สามารถประคองตัวอยู่ได้ จะปลูกพืชอะไรดีถ้าฝนทิ้งช่วง หรือเมื่อมีฝนตกชุกอยู่เสมอ และปีนี้ก็เริ่มขึ้นแล้วที่ฝนจะตกตั้งแต่เดือนห้า และจะตกยาวนานเหมือนปีที่แล้วหรือไม่

ตอนที่ราคายางตกต่ำก็มีหลายคนเปลี่ยนจากสวนยางเป็นสวนมังคุด ก็ดีที่ยังได้รายได้จากการขายไม้ยางได้บ้าง แต่เมื่อมังคุดออกผลก็เหมือนซ้ำเติมราคาตกต่ำเสียอีก แต่เมื่อราคาดีก็ไม่มีผลผลิตออกมาขาย หลายคนบอกว่าปลูกปาล์ม อาจจะให้รายได้สูงกว่า แต่ก็มีหลายคนแย้งอีกว่ามีอายุการเก็บเกี่ยวได้จำกัดเช่นกัน และเมื่อทำลายทิ้งก็ขายอะไรไม่ได้ยังต้องเสียค่าจ้างทำลายอีก นอกจากนั้นปาล์มก็ยังต้องใส่ปุ๋ยมากกว่ายางจึงจะได้ผลผลิตสูงได้ราคา จะเห็นว่าเมื่อเปรียบเทียบระหว่างยางพารากับปาล์มแล้ว ก็อาจจะพอๆ กันขึ้นอยู่กับความถนัดความพร้อมของแต่ละคน

สถานะการณ์วันนี้ ทำอย่างไรที่เราจะหลีกเลี่ยงผลเสียหายจากลมฟ้าอากาศ อันเป็นสิ่งแวดล้อมภายนอก ถ้าน้ำท่วมมากจะทำอย่างไร จะต้องเตรียมพื้นที่อย่างไร ถ้าแล้งน้ำจะทำอย่างไร ทำอย่างไรให้สะดวกต่อการเก็บเกี่ยว ต้องใส่ปุ๋ยอย่างไรให้ประหยัด และถูกต้องให้ผลผลิตดี ทำอย่างไรจึงจะไม่ให้เกิดเชื่อโรค และการกำจัดศัตรูพืชอย่างไรไม่ให้มีผลค้างเคียง ไม่ให้มีผลต่อสิ่งแวดล้อม และไม่ให้เป็นพิษแก่ผู้บริโภค สิ่งต่างๆเหล่านี้ยังคงต้องการนักวิชาการที่จะต้องศึกษาให้เหมาะกับแต่ละพื้นที่ ซึ่งการจัดการได้ดีที่พื้นที่หนึ่ง ไม่จำเป็นต้องใช้ได้ดีในอีกพื้นที่หนึ่ง เพราะมีองค์ประกอบและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ต้องศึกษาและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น