หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

คุณภาพมาตรฐานกับการเปลี่ยนแปลง

ถ้าจำไม่พลาด Philip Crawford เป็นคนที่บอกว่าอะไรที่มีคุณภาพจะหมายถึงการกระทำที่กำหนดได้ และที่บอกว่ากำหนดได้นั้น แน่นอนว่าจะต้องมีการคิดวางแผนไว้ล่วงหน้า ดังเช่นที่เรากำหนดแผนกลยุทธ์กัน มีการกำหนดเป้าหมาย กำหนดตัวชี้วัด นั้นก็คงมาจากแนวคิดการมีคุณภาพเป็นการกระทำที่กำหนดได้ แต่เมื่อพิจารณาสิ่งที่ว่ากำหนดได้นั้นให้เป็นมาตรฐานด้วยก็ดูเหมือนว่ายิ่ง มีคุณภาพมากขึ้น แต่ในความเป็นจริงนั้นมาตรฐานนั้นมีหลายระดับ ระดับบุคคลของแต่ละคนก็อาจจะไม่เหมือนกัน ระดับแผนกของแต่ละแผนกก็ไม่เหมือนกัน ของแต่ละสถาบันก็ไม่เหมือนกัน ของแต่ละประเทศก็อาจไม่เหมือนกันอีก ดังนั้นเราจึงมีคำว่ามาตรฐานสากลอันเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่า ถ้าทำได้ในเวลาเท่านี้ ทำได้ปริมาณเท่านี้แล้วละก็จึงได้มาตรฐานสากล


ด้วยความพยายามที่จะทำให้ได้มาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับกันในระดับประเทศและ ระดับสากลหรือเรียกว่าระดับโลกนั้น จึงได้มีการกำหนดการกระทำหลายอย่างอยู่ในงานต่างๆ มากมาย ดังที่เราเห็นกันอยู่ แม้แต่การบริหารหลักสูตรก็ต้องมีอาจารย์เท่านั้นเท่านี้ ต้องมีคุณวุฒิตามที่กำหนดเป็นต้น เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ก็ต้องมีมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยเพื่อความคงทนว่าจะใช้งานได้โดยไม่มีปัญหา ตลอดช่วงเวลาที่มีการรับประกัน ดังนั้นการยกระดับคุณภาพก็คือการกระทำใดๆ ให้ได้เข้าสู่เกณฑ์คุณภาพที่เป็นมาตรฐานหรือทำให้ได้สูงกว่ามาตรฐาน

จากคุณภาพมาตรฐานทำให้เราทราบว่าเราจะทำอะไรได้หรือไม่ได้ เช่นเดียวกับที่สถาบันของเราจะทำอะไรได้หรือไม่ได้ แต่ว่าถ้าสถาบันของเราอยากจะทำอะไรให้ได้คุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับสัก อย่างนั้นก็คงจะต้องระดมสรรพกำลัง พลังปัญญาความคิดเข้ามาดำเนินการเพื่อสร้างอัตลักษณ์ที่เป็นเรา ที่เราต้องการสร้างความสัมพันธ์ประสานภายในภายนอกเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ที่จะเป็นประโยชน์แก่ท้องถิ่นและประเทศ ถ้าเราทำได้คุณภาพมาตรฐานก็จะเกิดความภาคภูมิใจ เพราะคุณภาพที่ได้คงไม่ใช่เพียงเพื่อตัวเองเพียงอย่างเดียวแต่รวมไปถึงชุมชน ท้องถิ่นและประเทศที่ได้ประโยชน์ด้วย

เป็นที่น่าเสียดายที่เราไม่ได้พยายามทำอะไรให้ได้คุณภาพมาตรฐาน เราจึงไม่สามารถที่จะหาจุดที่โดดเด่น แต่กลับ่พบหลายอย่างที่ด้อยมาตรฐานกำหนดอะไรไม่ค่อยได้ มีแต่พูดกันว่าจะให้ได้ตามที่กำหนด แต่ก็ทำไม่ค่อยได้ตามที่กำหนดหรือไม่ค่อยได้คุณภาพมาตรฐาน การทำอะไรไม่ได้คุณภาพ ก็มีการพูดกันปากต่อปาก ยิ่งทำให้อะไรก็ถดถอยลงไปถ้าไม่สามารถพลิกฟื้นได้ อาจจะถึงคราวล่มสลายไปทีละอย่างสองอย่างได้เหมือนกัน

การพยายมสร้างกลยุทธ์ยุทธศาสตร์ให้ครอบคลุมทุกอย่าง และให้ทุกอย่างมีความเชื่อมโยงกันไปเลื่อนไหลไปได้อย่างสอดคล้อง ส่งเสริมกันได้ นั้นต้องใช้เวลาและการมีส่วนร่วมเป็นอย่างสูง ส่วนใหญ่แผนที่วางไว้ดูดีแต่ไม่ส่งผลในทางปฏิบัติมากนัก ไม่เห็นผลสำคัญที่ดีขึ้นได้อย่างชัดเจน จนบางคนอาจจะพูดเป็นเชิงประชดแดกดันว่าเป็นไปตาม planning จริงๆ คือมีการวางแผนแล้วนิ่งนั่นเอง สำหรับองค์กรขนาดเล็กหากไม่มีเวลาที่จะทำการวางแผนยุทธศาสตร์ให้ละเอียดครอบ คลุมมีความสอดคล้องกันได้แล้ว จึงเลือกทำเฉพาะอะไรที่คิดว่าจะทำได้ดี ได้คุณภาพ และได้มาตรฐาน บางที่ก็เริ่มจากว่าอยากเปลี่ยนอะไร เปลี่ยนแล้วไปเป็นอะไรที่ดีกว่าเก่า บางที่ก็เปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ท้ายทายมาก ซึ่งถ้าว่าไปแล้วสิ่งที่จะเปลี่ยนไปเป็นการกระทำใหม่นั้นก็คือการกระทำที่ กำหนดว่าจะได้คุณภาพมาตรฐานนั่นเอง แต่ควรเริ่มจากระดับที่น่าจะทำได้ก่อนแล้วค่อยๆ ท้าทายมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น