หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ดอกอินทนินที่ไม่ธรรมดา



ถ้าถามว่าดอกไม้อะไรที่ออกดอกในอาณาบริเวณและปริมณฑลของมหาวิทยาลัย (ม.รภ.นคร)มากที่สุดขณะนี้ คงหนี้ไม่พ้นดอกอินทนินที่มีปลูกอยู่ในมหาวิทยาลัยกระจายอยู่หลาย แห่ง ตามแนวถนนสายหลักของมหาวิทยาลัย และบริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยที่ติดถนนสี่เลน สองข้างถนนนครนบพิตำหรือถนนที่ผ่านมหาวิทยาลัย รวมทั้งบนเกาะกลางถนนก็มีิต้นอินทนินจำนวนมาก ถนนสายที่ไปสนามบินก็มีให้เห็นดาษดื่น และไม่ว่าจะไปท้องที่ใดก็จะพบต้นอินทนินออกดอกอยู่้เสมอ

ต้นอินทนินที่เห็นอยู่ทั่วไปดัวกล่าวนั้น ส่วนใหญ่เป็นอินทนินพันธ์ที่เรียกว่าอินทนินน้ำ หรือตะแบกอินเดีย หรือตะแบกดำ (Lythraceae) ลักษณะเด่นอยู่ที่ดอกส่วนใหญ่เป็นช่วงสีม่วงและชมพูหรือผสมกันระหว่างสี่ม่วงและชมพูที่ออกดอกเกือบตลอดปี ช่วงที่ออกดอกมากในเดือนมีนาคม-มิถุนายน ใบเกลี้ยงปลายใบเรียวแหลม ผลิใบอ่อนพร้อมช่อดอก ตำแหน่งของข่อดอก ชูตั้งขึ้นเหนือเรือนยอดเป็นพุ่มทรงเจดีย์เป็นช่อใหญ่และมีช่อย่อยดอกมี 6 กลีบดอก ขนาดของดอกกว้าง 5-8 ซม.

ถ้าขนาดดอกโตกว่านี้ 10-13 ซมและแต่ละดอกชิดติดกันเป็นกลุ่มมากกว่า มักมีสีชมพูเข้มและอ่อนและสีม่วงอมชมพู ช่อดอกไม่ชูตั้งเหนือเรือนยอดก็จะเป็นอินทนินอีกพันธ์หนึ่งที่เรียกว่าอินทนินบก (L.macrocarpa Wall exkurz) ซึ่งก็มีกระจัดกระจายอยู่มากหลายแห่งเหมือนกันหรืออยู่ปนกับอินทนินน้ำ (มีบางคนยกให้เป็นต้นซากุระเมืองไทย) อย่างอื่นๆ อินทนินบกก็มีลักษณะคล้ายอินทนินน้ำมาก เฉพาะปลายใบมนกว้างหรือแหลมเป็นติ่งสั้นๆ ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ช่อดอกไม่ชูตั้งเหนือเรือนยอดเหมือนกับอินทนินน้ำ


ยังมีต้นอินทนินอีกชนิดที่ออกดอกเป็นสีขาวล้วน ซึ่งไม่ค่อยพบโดยทั่วไป แต่จะพบบางท้องที่ที่นำมาปลูกกัน น่าจะเป็นการกลายพันธ์จากอินทนินที่กล่าวมาแล้ว ที่แตกต่างที่เห็นเด่นชัดก็คือ ลักษณะใบเรียวยาว ปลายแหลมกว่า การแตกยอดอ่อนของอินทนินดอกสีขาวจะมีสีเขียวอ่อน ไม่เป็นสีเหลือง ส้มเหมือนต้นอินทนินน้ำหรือบก ดวามจริงยังมีต้นไม้ลักษณะเดียวกันอีกสองชนิดคือตะแบกและเสลา ซึ่งตะแบกดอกขนาดเล็กหว่า และออกดอกในช่วงฤดูฝน มิถุนายน-กันยายน



เหตุที่มีต้นอินทนินอยู่ทั่วไป อาจเป็นเพราะว่าเป็นต้นไม้ที่เจริญได้ดีที่ลักษณะอากาศบ้านเรา ต้นอินทนินเป็นไม้ทนน้ำ ชอบแดดและชอบความชื้นสูง และยังทนน้ำขังชั่วคราวได้ ปัญหาโรคแมลงก็มีน้อย เมื่อปลูกแล้วไม่ต้องดูแลมากนัก นอกจากนี้ต้นอินทนินยังมีประโยชน์ที่นำไม้ไปทำกระดานต่อเรือ กังหันน้ำ ใบเมล็ดนำมาต้มดื่มน้ำแก้เบาหวาน เปลือลำต้นสีเท่าหรือน้ำนาลออ่นค่อนข้างเรียบ ตกสะเก็ดเป็นแผ่นบางๆเล็กน้อย เปลือกมีรสฝาดขม แก้ไข้ท้องเสียได้



ด้่วยความที่ปลูกง่ายเจริญเติบโต้ได้ดี และมีจำนวนมากในจังหวัดนคร ถ้าหากว่าปลูกกันให้มากให้เป็นแนวตลอดถนนทั้งสายเมื่อออกดอกจะสวยงามมาก ต่อไปอาจจะเป็นจุดขายของเมืองนคร หรือถ้ามหาวิทยาลัยจะปลูกให้มากเป็นจุดขายว่ามีดอกไม้สวยงามที่สุดตอนฤดู ร้อน ต่อไปอาจเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีผู้คนมาชอมดอกไม้ อาจมีการจัดเทศกาลสัปดาห์ชมดอกไม้ ทำให้เป็นประเพณี นำอาหารไปกินสังสรรค์กันใต้ต้นไม้ ความจริงเรื่องนี้มีแบบอย่างมาจากประเทศญี่ปุ่น ที่จังหวัีดหรือพรีเฟคเจอร์ เอโอโมริ ที่มีต้นซากุระสวยที่สุดและจำนวนมากเกือบทั้งเมือง ส่วนสาธารณะบางแห่งปลูกแต่ต้นซากุระ 50000ต้น ทำให้จังหวัดนี้มีคนมาเที่ยวชมดอกไม้มากกว่า 5 ล้านคนในแต่ละปี ขณะที่จังหวัดนี้มีพลเมืองเพียงล้านคน









อ้างอิง จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่1 ฉ12 ธค. 2532

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น