หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

มองอย่างไรให้เป็นองค์รวม

เมื่อเราพูดถึงองค์รวม ก็ต้องคิดถึงสภาพที่แยกส่วนดังที่เราเห็นกันว่า เรามักจะแบ่งงานกันทำเป็นเหมือนกับการแยกส่วนต่างๆ ออกจากกันที่มีปัญหาก็คือการขาดความเชื่อมโยงไม่มีความสัมพันธ์ ที่จะช่วยเสริมช่วยหนุนกัน ความจริงเราสามารถที่จะค้นพบองค์รวมโดยการเจาะลึกลงไปในส่วนย่อย ขณะที่เรารู้ว่ามันมีส่วนร่วมอยู่ในองค์รวม


จะยกตัวอย่างในทฤษฎีไร้ระเบียบที่ว่า ในความไร้ระเบียบจะมีความระเบียบแทรกอยู่ บางครั้งเราต้องออกไปดูห่างๆ หรือมองจากมุมสูงให้เห็นทั้งหมดนั่นแหละจึงจะเห็นความเป็นระเบียบ ถ้าเราอยู่ในเหตุการณ์ที่สับสนวุ่นวายแล้วเราก็จะไม่เห็นอะไร นอกจากปัญหาที่ไม่มีทางออก นั่นก็คือไม่ดูเหตุการณ์หรือพิจารณาเป็นเรื่องๆ แยกกัน หรือไม่พิจารณาิเป็นรายบุคคล เชื่อว่าการจะเข้าใจโลกที่เป็นระบบหรือเป็นองค์รวม ให้มองแต่ละชิ้นส่วนเป็นภาพย่อขององค์รวม เช่นเีดียวกับที่มองเซลล์หนึ่งๆ ของสิ่งมีชีวิต เป็นภาพย่อของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ที่มีเซลล์เป็นองค์ประกอบ โดยมองให้ออกถึงการทำงานทั้งระบบที่แต่ละส่วนย่อยเป็นองค์ประกอบที่ทำงานสอดประสานกลมกลืนกัน อันแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของแต่ละส่วนย่อยกับองค์รวม

การทำงานกับทั้งระบบจะสร้างความตระหนักเชิงระบบ โดยที่พฤติกรรมใดๆ ไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว แยกตัวออกไปโดยไม่สัมพันธ์กับใคร แต่มีพลวัตของทั้งระบบอยู่ในแต่ละเรื่อง ต้องคำนึงถึงสิ่งอื่นที่เหลือในจักรวาล ถ้ามองให้แคบเข้าก็โดยการสังเกตว่ามีอิทธิพลต่อสิ่งต่างๆ ในท้องถิ่นได้อย่างไร ปรากกฏการณ์ต่างๆ ไม่ได้เกิดขึ้นและหายไป ไม่ได้อยู่กันอย่างโดดเดี่ยว แต่เป็นผลพวงมาจากความสัมพันธ์กับปรากฏการณ์อื่น และเมื่อพิจารณาระบบชีวิตก็เป็นไปทำนองเดียวกันที่ สิ่งมีชีวิตทั้งปวงอยู่ได้ด้วยกฏแห่งการพึ่งพาอาศัยกันและกัน ก่อให้เกิดแหล่งกำเนิดของสิ่งต่างๆ ของสิ่งหนึ่ง และก็ทุกสิ่งนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น