หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

แนวคิดให้การศึกษาประชาชน

ข้อเขียนแรกมีบันทึกในประเทศจีนโดยนักเขียนนิรนาม เมื่อ 400 ปีก่อนคริสตศักราชดังนี้




If you are thinking a year ahead, sow seed.

If you are thinking ten years ahead, plant a tree.

If you are thinking hundred years ahead, educate the people



By sowing seed, you will harvest once.

By planting a tree, you will harvest tenfold.

By educating the people, you will harvest one hundredfold



ถ้าคุณคิดไปข้างหน้า 1 ปี ให้หว่านเมล็ดพันธุ์

ถ้าคุณคิดไปข้างหน้า 10 ปี ให้ปลูกต้นไม้

ถ้าคุณคิดไปข้างหน้า 100 ปี จงให้การศึกษาแก่ประชาชน



โดยการหว่านเมล็ดพืช คุณจะได้เก็บเกี่ยวครั้งหนึ่ง

โดยการปลูกต้นไม้ คุณจะได้เก็บเกี่ยว 10 เท่า

โดยการให้การศึกษาประชาชน คุณจะได้เก็บเกี่ยว 100 เท่า

ข้อเขียนนี้ชี้ให้เห็นว่าการให้การศึกษา มีความยั่งยืนกว่าการทำอย่างอื่น เหมือนจะบอกว่าการให้การศึกษาก่อให้เกิดความรู้ ที่มีค่าใช้ไม่หมด เป็นที่มาของคำว่าความรู้คือพลัง

ยังมีข้อเขียนหรือคำกล่าวให้ชวนคิดอื่นๆ ดังเช่น

Rousseau กล่าวว่า

“Those who hear the words understand them, but the child does not”

และผู้เขียนนิรนามชาวจีนที่บันทึกไว้ว่า

“I hear I forgot, I see I remember, I do I understand”

คำกล่าวทั้งมีความสอดคล้องกันในมุมมองที่นำมาใช้เป็นหลักในการจัดการ เรียนการสอนได้ โดยประโยคแรก ชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างเด็กกับ ผู้ใหญ่จะมีประสบการณ์มากกว่าหรือมีพื้นฐานมากกว่าย่อมเข้าใจได้แต่เด็กยัง ไม่สามารถที่จะเข้าใจเพราะมีประสบการณ์น้อยหรือยังขาดความรู้พื้นฐานที่ต้องจัดให้เสียก่อนจึงจะทำให้เกิดความเข้าใจได้ ส่วนประโยคที่สองเหมือนกับชี้แนะถึงวิธีการสอน ซึ่งการที่ครูพูดให้ฟังอย่างเดียวก็จะลืมได้ง่าย แต่ถ้าเด็กได้ยินได้มองเห็นด้วย ก็จะทำให้จำได้ดีกว่า และยิ่งได้ลงมือกระทำด้วยตนเองด้วยแล้วก็จะทำให้ให้เกิดความเข้าใจขึ้นเกิดความรู้ที่แท้จริงได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น