หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

กฏหมายกับ จารีตประเพณี และศาสนา

แม้ว่ากฏหมายส่วนหนึ่งจะมีที่มาจากจารีตประเพณี และคำสั่งสอนของศาสนาต่างๆ แต่ก็ยังมีจารีตประเพณีและธรรมเนียมปฏิบัติในทางศาสนาที่กฏหมายยังไม่ก้าวเข้าไปบังคับใช้อยู่อีกมาก เพื่อพิจารณาในรายละเอียด ทั้งจารีตประเพณี ศาสนา และกฏหมายต่างก็เพื่อให้เกิดความสุขและประโยชน์ในสังคมแต่มีวิธีการที่แตกต่างกัน


ขณะที่กฏหมายใครฝ่าฝืนก็ต้องถูกลงโทษ หรือจะถูกบังคับลงโทษทันทีถ้าพิสุจน์ได้ว่ากระทำผิดจริงหรือกระทำผิดซึ่งหน้า สำหรับจารีตประเพณีอันผู้คนทั้งหลายยึดถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาเป็นเวลานาน ไม่ว่าประเพณีที่เกี่ยวกับการละเล่น การแต่งกาย ประเพณีเล่นสงกราน ประเพณีแห่เทียนพรรษา ซึ่งประเพณีแต่ละอย่างมีรูปแบบตามความนิยมหรือลักษณะนิสัยใจคอของผู้ยึดถือปฏิบัติ ประเพณีหลายอย่างแสดงออกถึงความรักความผูกพันธ์ ความสามัคคีของประชาชน แม้ว่าไม่มาร่วมในงานประเพณีก็ไม่ถือว่าผิดอะไร ไม่มีการบังคับ เพียงแต่อาจได้รับการตำหนิติเตียนจากชุมชนเท่านั้น

ใสส่วนของศาสนาที่ต่างจากกฏหมายก็เช่นกัน การประพฤติผิดบัญญัติของศาสนาแต่ไม่ผิดกฏหมาย ก็จะไม่ถูกลงโทษโดยตรงทันที แต่ก็รู้สึกอยู่ในตนเองของผู้ประพฤติปฏิบัติ ซึ่งก็อาจส่งผลทางใดทางหนึ่งที่ไม่ดีต่อตัวเองไม่วันเวลาก็วันเวลาหนึ่งต่อไปข้างหน้า ซึ่งเป็นการรับโทษตามความเชื่อของแต่ละศาสนา หรือเป็นการรับโทษโดยอ้อมที่อาจเป็นที่รังเกียจของคนอื่น ไม่มีใครคบหาสมาคม คำว่าศิลธรรม นั้นหมายถึงความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ว่าการกระทำอย่างไรเป็นความผิด การกระทำใดที่ชอบที่ควร หรือถูกต้อง และการกระทำอย่างไรเป็นการกระทำที่ไม่ชอบไม่ควรหรือเป็นความผิด

โดยทั่วไปศิลธรรมเป็นเรื่องของการปฏิบัติตามข้อบัญญัติหรือไม่ปฏิบัติตามข้อทีห้ามไว้ จึงกล่าวได้ว่าเป็นผู้ที่มีศิล อันมีส่วนโน้มนำส่งผลต่อการประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่เป็นคุณงามความดี โดยสรุปกฏหมายนั้นบังคับ ส่วนศิลธรรมเป็นความคิดความรู้สึก การคิดว่าการทำความดีไม่เบียดเบียนผู้อื่นก็ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้มีศิลธรรม หรือเมื่อมีศิลแล้วก็เกิดธรรมขึ้นในใจ ในทางกลับกันถ้าทำผิดศิลธรรมก็จะเป็นผู้ที่ไม่มีธรรมอยู่ในใจ มีความคิดที่ไม่ชอบ คิดชั่วคิดร้าย แม้แต่ด่าตำหนิผู้อื่นในใจ ก็คือว่าผิดศิลธรรมแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น