หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วิสัยทัศน์การวิจัย

วันนี้ก็ได้เข้าร่วมอบรมการเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ที่ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เหตุที่ให้เกียรติท่านจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็เพราะท่านเป็นคนแรกก็ว่าได้ที่มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการวิจัย ที่ท่านเคยกล่าวว่าการแก้ปัญหาของชาติต้องใช้วิจัยควบคู่กันไปด้วย พิธีเปิดการอบรมโดยศาสตราจารย์อานนท์ บุณยะรัตเวช เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และท่านได้บรรยายในหัวข้อที่เน้นให้ความสำคัญกับวิสัยทัศน์การวิจัยในระดับต่างๆ เป็นส่วนใหญ่ จะขอยกตัวอย่างสักเรื่องที่ท่านได้เล่าให้ฟังคือถ้าหากใน20 ปีข้างหน้าถ้าน้ำทะเลสูงขึ้น 50 มิลลิเมตรแล้ว น้ำจะท่วมถึงจังหวัดใด ก็มีผู้ให้คำตอบว่าจะถึงจังหวัดนครสวรรค์ทีเดียว ดังนั้นการวิจัยจะต้องเตรียมการใดๆ บ้างเพื่อแก้ปัญหา จะยังคงเป็นประเทศผลิตข้าวส่งออกมากที่สุดอยู่อีกหรือไม่ ควรจะปลูกข้าวพันธ์ใด ซึ่งเป็นงานวิจัยจะได้ไม่วิจัยจะได้ไม่สูญเปล่าหากมีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้อง


ท่านเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติยังได้กล่าวถึงยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีความเป็นพลวัต มีการเปลี่ยนแปลงเร็วและส่งผลกระทบต่อชุมชนสูง ที่เราจำเป็นต้องมีกลไกในการปรับตัว และรู้ตำแหน่งของประเทศต่อไปในอนาคตว่ามีบทบาทในระดับภูมิภาค และระดับโลกอย่างไรในเรื่องภาษา วัฒนธรรม เทคโนโลยี พรัพยากรและสิ่งแวดล้อม การวิจัยจึงต้องมีการมองภาพรวมให้ได้ว่าผลการวิจัยและผลลัพธ์ในการนำไปใช้ จะก่อให้เกิดอื่นใดตามมา จะต้องหาให้ได้ว่าวิใจที่กำลังดำเนินการนั้นเป็นจิกซอในภาพใหญ่อย่างไร ดังข้อความหรือคำกล่าวที่เราได้ยินบ่อยๆ ว่าให้คิดในระดับโลกปฏิบัติหรือทำได้ในท้องถิ่น มาจากคำภาษาอังกฤษที่ว่า Think globally act locally

จากการฟังการบรรยายได้กล่าวถึงสถานะการวิจัยของประเทศดูเหมือนว่างบประมาณการวิจัยทั้งประเทศเป็นไปในทางที่จะลดลงเมื่อเทียบกับ GDP ของประเทศแม้ว่าสัดส่วนเปอร์เซนต์ที่ได้รับจะสูงขึ้นนั่นคือตัวเงินสูงขึ้นเล็กน้อย ประเทศเราจัดงบวิจัยผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวกับการวิจัยเพียง 0.26 เปอร์เซ็นต์ของGDP เมื่อเทียบกับประเทศมาเลเซีย 0.8 สิงคโปร์ ใต้หวัน จีน ในระดับ 2% เกาหลี ญี่ปุ่นในระดับ 3 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่า ทางยุโรป เช่นฟินแลนด์ เดนมาร์ค เกือบ 4 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี ฟินแลนด์มีนักวิจัยมากกวา 105 คนในหมื่นคน ไทยมีนักวิจัยเพียง 3.2 คนในหมื่นคน สวีเดน 81 คน , ญี่ปุ่น 67.3 คน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น