หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ระหว่างศาสตร์ทางโลกและศาสตร์ทางจิต

เป็นที่เข้าใจกันแล้วว่าศาสตร์ทางโลกทุกอย่างนั้นเกิดขึ้นมาได้ก็เนื่อง จากจิตใจทั้งสิ้น การกระทำต่างๆ ทั้งดีและไม่ดี ก็เนื่องมาจากทางจิตทั้งสิ้น ศาสตร์วิทยาการทั้งหลายเท่าที่มีมานั้นก็เพื่อต้องการค้นหาความจริงตาม ธรรมชาติ ซึ่งธรรมชาติในที่นี้อาจแบ่งออกได้สองกลุ่มคือ คือสิ่งที่ไม่มีชีวิตได้แก่ พวกสสารและพลังงาน และสิ่งที่มีชีวิตได้แก่คนสัตว์ พืชต่างๆ การ ศึกษาเพื่อให้เข้าใจธรรมชาติส่วนนี้ มีทั้งการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต และระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต หรือกล่าวรวมๆ ทั้งสองกรณีว่าเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ถ้าให้แคบลงไปเป็นการศึกษาระหว่าง สัตว์หรือมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมเอาการศึกษาระหว่างสิ่งไม่มีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตรวมอยู่ด้วย เช่นความสัมพันธ์ระหว่างหินและดินเป็นต้น


วิชาการทั้งหลายในโลกที่ แบ่งแยกย่อยออกไปเป็นศาสตร์ต่างๆ นั้น ศึกษาเฉพาะส่วนย่อยๆ จนแทบไม่มีใครที่จะเข้าใจความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทั้งหมดที่เป็นองค์รวม โดยคาดหวังว่าเมื่อนำความรู้จากศาสตร์ในส่วนย่อยๆ มารวมกันแล้วก็สามารถทำให้เข้าใจองค์รวมได้ ในศาสนาพุทธนั้นมองธรรมชาติทั้งปวงมีองค์ประกอบหลักที่เรียกว่า รูปกับนาม โดยที่รูปก็คือสสารและพลังงานดังที่ได้ศึกษากันในศาสตร์ทางโลก และเช่นกันในส่วนของศาสนาพุทธก็มุ่งที่จะให้รู้ความจริงของธรรมชาติทั้งปวง เช่นเดียวกัน ในอีกส่วนหนึ่งคือนาม ส่วนที่เป็นนามธรรมก็คือจิตที่คิดให้เป็นองค์ประกอบสำคัญของสิ่งมีชีวิตทั้ง ปวง การศึกษาให้รู้ความจริงตามพุทธศาสนาจึงต้องศึกษาทั้งในเืรื่องรูปและนาม หรือวัตถุึกับจิต ในเรื่องความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่าง รูปกับนาม รูปกับรูป และระหว่างนามด้วยกัน

ในอีกแง่มุมหนึ่งวิชาการทาง โลกยิ่งมีความก้าวหน้ามากขึ้นเพียงไร เช่นเมื่อรู้ความจริงของธรรมชาติและคิดว่าจะสามารถควบคุมธรรมชาติได้มากขึ้น เพียงใด ก็จะไปเพิ่มกิเลสให้มากขึ้น เป็นมูลเหตุที่ก่อให้เกิดความทุกข์แก่มนุษย์มากขึ้นไปอีก ถ้าหากไม่มีศาสตร์ทางด้านจิตมากำกับควบคุม จากนี้จะเห็นว่าพุทธศาสตร์มีความครอบคลุมศาสตร์ทางโลกและทางจิตเอาไว้ด้วยกัน โดยมุ่งเน้นไปที่วิทยาการทางจิตมากกว่าในรายละเอียด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น