หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ความจำ ความรู้สึก ความคิด กับทฤษฎีการเรียนรู้

ตามทฤษฎีการเรียนรู้ ที่เราทราบกันมานั้นตั้งแต่ทฤษฎีการเรียนรู้แบบพฤติกรรม ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการคิด ทฤษฏีการเรียนรู้แบบการสร้างความรู้ นั้นนั้นไม่ว่าจะเป็ฯแบบใดเมื่อเรามาพิจารณาแล้วการที่จะส่งผลให้เกิดการกระทำเนื่องมาจากจิตที่สั่งการ และทฤษฎีการเรียนรู้ทั้งหลายนั้นเกี่ยวข้องกับ ความจำ ความรู้สึก และความคิด ซึ่งในทางพุท่ธศาสนานั้นเป็นส่วนอยู่ในขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา(ความรู้สึก) สัญญา(ความจำ) และความคิด (สังขาร) และวิญญาณ ถ้าเราจะมองว่าขันธ์ห้าเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ทื่สมบูรณ์แบบก็ย่อมได้และมีครบทุกองค์ประกอบ


ในทุกทฤษฎีการเรียนรู้ที่เราใช้กันนั้นมีที่มาจากแนวทางของปรัชญา จากนักปรัชญา วิลเลี่ยมเจมส์ ที่กล่าวว่ามนุษย์มีความคิด ความเชื่อต่างๆกันตามประสบการณ์ เมื่อมีประสบการใหม่เข้ามาอาจทำให้เกิดความขัดแย้งกับความคิดความเชื่อเดิม ถ้าปรับปรุงความคิดเดิมให้เข้ากับประสบการณ์ใหม่หรือความคิดที่มาเชื่อมประสบการณ์เก่ากับประสบการใหม่นี้เขาเรียกว่าความคิดจริง(true idea) นักปรัชญาและนักจิตวิทยาชาวสวิส จีน เปียอาเจต์ ก็ได้นำไปตั้งเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่มีการปรับความรู้เดิมกับความรู้ใหม่แบบประนีประนอมและเปลี่ยนแนวคิดใหม่ที่เรียกว่า assimilation และ accommodation แล้วเกิดความสมดุลย์ขึ้น (equilibrium) และผู้ที่นำไปใช้ในทฤษฎีการเรียนการสอนของอาซูเบลที่เน้นว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานมีประสบการณ์อะไรมาก็จัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องไปตามนั้น

ในขันธฺ์5 นั้นมีรูปร่างกายคนเป็นตัวรับรู้จากอวัยวะรับสัมผัส ตา หู จมูก ลิ้น และ กาย ที่ทำงานร่วมกับจิตอันได้แก่ ความจำ ความรู้สึก และความคิด โดยมีวิญญาณเป็นตัวรับหรือเป็นตัวใจเป็นตัวรับ จะเห็นว่าร่างกายที่รับสัมผัสมาจะทำให้เกิดความทรงจำ ทั้งดีและไม่ดี ถ้ามุ่งมั่น หมกมุ่นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจนยากที่จะถอดถอนที่ก่อให้เกิดความรู้สึก อารมณ์ต่างๆนั้นก็จะเป็นคนเสียสติไปได้ชั่วครั้งชั่วคราว บางเรื่องเราต้องการจำแต่ไม่จำ บางเรื่องเราไม่อยากจำกลับจำนั้นขึ้นอยู่กับอารมณ์ความรู้สึกของแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกัน ตั้งแต่เกิดจนเป็นผู้ใหญ่นั้นเชื่อเถอะว่ามีความทรงจำอันมหาศาลที่มีทั้งที่ยังนึกได้จำได้ ที่นึกไม่ได้จำไม่ได้ก็มีอยู่ในจิตใต้สำนึกบางครั้งก็นึกขึ้นมาได้อย่างนาอัศจรรย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น