หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ภาษาดิ้นได้เมื่อมีหลายความหมาย

การที่ภาษาต่างๆ ไม่ใช่เฉพาะภาษาไทยที่คำคำเดียวกันแต่มีความหมายได้หลายอย่าง บางครั้งก็ก่อให้เกิดความสับสน บางครั้งก็จงใจเพื่อให้มีอารมณ์ขัด อย่างเช่นครั้งหนึ่งได้ไปงานเลี้ยง เมื่อนั่งโต๊ะ พนักงานก็นำอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการกินมาวางเช่นจาน ช้อน ซ่อม และแก้วน้ำ ผู้ที่มารับประทานอาหารวงเดียวกันก็จะ กระจายอุปกรณ์เหล่านั้น ได้ยินเสียงใครพูดคนหนึ่งว่า เอาแก้วมา เผอิญว่า แก้ว นั้นเป็นชื่อคนที่เคยทำงานอยู่ด้วยกัน ก็มีสมาชิกร่วมวงคนหนึ่ง พอได้ยินว่าเอาแก้วมา ก็พูดว่าแก้วมาไม่ได้ไปสุราษฎร์ เพราะแก้วที่เป็นชื่อคนนั้นได้เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ที่สุราษฎร์แล้ว .


อีกกรณีหนึ่งเช่นมีบุคคนที่ชื่อเสรีอยู่ บางครั้งก็จะพูดล้อเล่นกันว่าวันนี้มีเสรี บางคนก็จะพูดเสริมว่าใช่ซินะเพราะ เสรีนั่งอยู่จริงๆ แต่ถ้าเกิดไม่อยู่ ก็พูดอีกได้ว่า ก็เสรีไม่อยู่จะมีเสรีได้อย่างไร .

คำคล้องจองบางคำเช่นคำว่าเอาหูไปนา เอาตาไปไร่ ก็ทำให้เด็กสับสนเป็นอย่างมาก ทำไมต้องเอาหูไปนา และทำไม่ต้องพาตาซึ่งแก่แล้วไปไร่ .

คำที่มีความหมายเดียวกัน เช่นกา อาจเป็นสัตว์ปีชนิดหนึ่ง และหมายถึงกาต้มน้ำก็ได้ ถ้าพูดว่าเห็นกาอยู่ที่โน่นที่นี่ ถ้าบริบทแวดล้อมไม่ดีก็ทำให้เข้าใจผิดได้ ไม่รู้ว่ากาที่เป็นสัตว์ หรือกาที่เป็นสิ่งของ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น