หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การวิจัยกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง

ไม่ว่าวิจัยแบบใด ก็มีเป้าหมายที่จะให้ได้ความรู้ใหม่ หรือทำความรู้ที่มีอยู่เดิมให้ก้าวหน้า ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์การค้นพบพิสูจน์ได้ด้วยการทดลอง ถ้าเราสามารถทำให้เงื่อนไขเหมือนเดิม หรือกล่าวอีกอย่างว่ามีบริบทเหมือนเดิมแล้วก็จะให้ผลการทดลองเหมือนเดิม นั่นก็คือสามารถทดลองซ้ำให้เหมือนเดิมได้ (replicate) สำหรับการวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์หรือการวิจัยที่ใช้วิธีการเชิงคุณภาพนั้น เป็นการศึกษาเกี่ยวข้องกับคนที่มีความนึกคิด มีความรู้สึกนั้น ยังมีส่วนที่อาจเป็นที่สงสัยว่าจะสามารถทำซ้ำให้เกิดผลเหมือนเดิมได้หรือไม่ และเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง อาจเป็นเดือนเป็นปี ความรู้ที่คิดว่าถูกต้องนั้น คิดว่าดีในขณะนั้น ก็อาจใช้ไม่ได้ในอีกสมัยหนึ่ง เท่าที่สังเกตุดูความรู้ทางวิทยาศาสตร์และทางสังคมศาสตร์ต่างก็มีข้อผิดพลาดทั้งนั้น เช่นกฏทางวิทยาศาสตร์เช่นกฏนิวตันใช้มา 300 ปี ไอสไตย์ก็มาพบข้อผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ในบางกรณี แต่ส่วนใหญ่ก็ยังใช้อยู่แม้กระทั่งในปัจจุบัน ทางสังคมศาสตร์ก็มีส่วนผิดพลาดเช่นทฤษฎีเกี่ยวกับการวัดไอคิวความฉลาด ต่อมาก็พบว่าไม่น่าจะถูกต้องก็ใช้ทฤษฎีพหุปัญญาน่าจะถูกต้องมากกว่าเป็นต้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการวัดความคิดเห็น ทัศนคติหรือเจตคติ นั้นพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมหรือบริบท


ในครั้งพุทธกาลก็เช่นเดียวกัน ที่พระพุทธเจ้าบอกให้พิจารณาไตร่ตรองให้ดีก่อนกว่าจะเชื่อเรื่องใดๆในกาลามสูตร บางครั้งก็ถึงกับไม่เชื่อครู ไม่เชื่อพ่อแม่ก็มี หรืออาจจะถึงขั้นไม่เชื่ออะไรเลย ทำให้ดูเหมือนว่าคำสั่งสอนนั้นขัดแย้งกันเอง เช่นเชื่อหมวดธรรมกาลามสูตรแต่ไม่เชื่อหมวดธรรมอื่น ที่พระพุทธเจ้าสั่งสอนไว้ในหมวดธรรมอื่นๆ เช่นให้ศรัธา ให้มีสัมมาฐิถิ หรือให้เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ นั่นก็คือพระพุทธองค์ได้สอนหมวดธรรมในวาระโอกาสและบริบทที่แตกต่างกัน ตอนสอนเรื่องกาลามสูตรนั้นก็คงจะอยู่ในบริบทที่มีคนที่หลงเชื่องมงายกันมาก หรือมีการหลอกลวงกันมากพระองค์จึงได้สอนธรรมหมวดนี้ เช่นเดียวกันที่พระองค์พูดถึงหมวดธรรมที่เป็นอจินไตยเช่นตายแล้วไปไหน ที่หาคำตอบไม่ได้ว่าไม่ใช่ทางแห่งการพ้นทุกข์อย่าได้ไปสนใจมากนัก รู้ไปก็ใช่ว่าจะทำให้หลุดพ้นเข้าสู่นิพพานได้ ทำให้มีผู้เสื่อมศรัธาที่ไม่สามารถให้คำตอบในเรื่องดังกล่าว แต่ความจริงนั้นพระพุทธเจ้าก็ได้กล่าวไว้ในธรรมหมวดอื่นก็มีในบริบทที่ต่างกัน เช่นกล่าวถึงเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดไว้ในหมวดธรรมอื่นเป็นต้น

ที่ยกตัวอย่างมานั้นก็เพื่อชี้ให้เห็นว่า การวิจัยที่ดำเนินการเพื่อให้ได้ความรู้ใหม่นั้น ใช่ว่าจะถูกต้องสมบูรณ์ ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงไป แต่การวิจัยนั้นก็คือการศึกษาเพื่อให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นดียิ่งขึ้น สะดวกยิ่งขึ้น มีคุณค่ามากขึ้น ตามบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป เราลองนึกย้อนกลับไปดูเปรียบเทียบเมื่อสิบปีที่แล้วกับปัจจุบันว่า เรามีคุณค่าอะไรเพิ่มมากขึ้นในแง่ของวัตถุ และในแง่ของจิตวิญญาณ วัฒนธรรมและวิถีชีวิตอันดีงาม การวิจัยไม่เพียงจะแก้ปัญหาชั่วครั้งชั่วคราว แต่ต้องเข้าสู่การแก้ปัญหาที่ยังยืนสร้างเสริมภุมิปัญญา ให้มีจิตวิญญาณที่สูงส่งขึ้นไปด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น