การวิจัยนั้นมีจุดประสงค์หลักเพื่อการสร้างความรู้ใหม่ เพื่อยืนยันความรู้เดิมเมื่อเกิดความไม่แน่ใจว่าความรู้ที่มีอยู่ หรือความรู้ทีค้นพบกันมาแล้วนั้นจะยังใช้ได้ถูกต้องหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปลี่ยนเงื่อนไขปริบทแวดล้อม ผลที่ได้อาจจะไม่เหมือนเดิม หรือวิจัยเพื่อปรับปรุงความรู้ให้ดีขึ้น หรือปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นดังที่เราเรียกกันว่า การวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) อย่างไรก็ตามการวิจัยก็ไม่แน่ว่าจะทำให้เกิดการพัฒนาได้จริงถ้าไม่มีการนำไปใช้ หรือนำไปใช้เฉพาะตอนทำวิจัย แต่ถ้าการวิจัยที่ครบวงจรจริงๆ การวิจัยนั้นก็จะส่งผลให้เกิดนำไปประยุกต์ใช้ตามวัตถุประสงค์หรือเป็นอุตสาหกรรมขึ้น อาจเกิดจากการต่อยอดงานวิจัยที่เคยทำไว้แล้ว จนสามารถจดลิขสิทธิ์ และมีการออกแบบเชิงวิศวกรรมพร้อมที่จะนำไปผลิตในเชิงอุตสาหกรรมได้ ดังที่เรียกว่า การวิจัยและพัฒนาพร้อมออกแบบ (Research and Development with Design: R&DD)
แต่มีการวิจัยแบบหนึ่งที่มีส่วนผลักดันให้เกิดการพัฒนาเป็นอย่างสูง และทำให้หลายประเทศในทวีเอเซียประสบผลสำเร็จมาแล้วอันได้แก่ ประเทศญีปุ่น ประเทศเกาหลี ประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ และประเทศจีนใต้หวัน ต่างก็เคยใช้วิจัยแบบนี้ นั่นก็คือการวิจัยและลอกเลียนแบบ (Research and Copy: R&C) การวิจัยแบบนี้เน้นที่ทำอย่างไรให้ทำได้ ใช้งานได้ก่อนในขั้นต้น พูดง่ายๆ ก็คือให้ทำเป็นเสียก่อนดังที่เรารู้จักกันว่าเป็นวิศวกรรมย้อนรอย (reverse engineering) ที่จริงวิธีการย้อนรอยก็ยังทำกันอยู่แม้ในปัจจุบัน เราสามารถลอกเลียนแบบให้ทำงานได้ แต่วิธีการบางอย่างอาจแตกต่างกัน
การวิจัยและลอกเลียนจึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีอย่างหนึ่งสำหรับการเริ่มต้นบุกเบิก เพื่อให้เราทำเองได้เสียก่อน ก่อนที่จะต่อยอดพัฒนาให้ดีขึ้นและเข้าสู่อุตสาหกรรมในที่สุด ในกรณีนี้การกำหนดให้นักศึกษาได้ศึกษาเป็นโครงงานหรือวิจัยจะทำได้ไม่ยาก ที่จะเป็นฐานให้กับเศรษฐกิจพอเพียง การอนุรักษ์ทรพยากรธรรมชาติ และการพัฒนาพลังงานทดแทน ดังนั้นการจะประดิษฐ์อะไรได้ก็เริ่มจากการลอกเลียนแบบให้ได้เสียก่อน แล้วจึงค่อยปรับปรุงต่อไป เช่นการจะทำน้ำมันไบโอดีเซลล์ ขนาดเล็กอาจเริ่มจากการเลียนแบบผู้ที่ทำได้ก่อนแล้ว จากนั้นก็ต่อยอดโดยการพัฒนาคุณภาพผลผลิต และประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตเป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น