หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎีกับการพยากรณ์ตามพระไตรปิฏก

โดยทั่วไปทฤษฎีจะเป็นข้อความที่ใช้อธิบายหรือทำนายปรากฏการทั้งหลาย และยังนำไปใช้อธิบายกฏ หลักการหรือข้อเท็จจริง นั่นคือทฤษฎีสามารถที่จะอนุมานไปเป็นกฏและหลักการได้ นั่นเป็นที่มาว่าทำไมบางครั้ง กฏ หลักการและทฤษฎี เป็นเหมือนเรื่องเดียวกัน


ในทางพุทธศาสนานั้น ได้มีการกำหนดความหมายของคำว่าพยากรณ์ไว้ในพระไตรปิฏกใน 4 ลักษณะคือ

1. ทำนาย คือบอกเหตุการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตล่วงหน้าได้

2. การคาดการณ์ เป็นการทำนายเฉพาะหน้าประมวลจากปัจจัยแวดล้อมที่สังเกตได้

3. ตอบปัญหา ให้แก่ผู้ที่สงสัย

4. ทำให้แจ้ง เป็นการแสดงเหตุผลเพื่ออธิบายเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

จะเห็นว่าคำว่าพยากรณ์ในทางพุทธศาสนามีความใกล้เคียงกับทฤษฎีในทางวิทยาสาสตร์ คือนำมาใช้ในการทำนายปรากฏการณ์เหมือนกัน แต่ในทางพุทธศาสนานั้นละเอียดกว่าที่แยกออกเป็น การทำนาย และการคาดการณ์ ส่วนที่นำทฤษฎีมาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์นั้น ก็เช่นเดียวกันการอธิบายในทางพุทธศาสนายังแยกได้สองกรณีคือ การตอบปัญหาให้หายสงสัย และการทำให้แจ้งก็เป็นการอธิบายที่ลงลึกมากขึ้น

จากนี้จะเห็นว่าคำว่าพยากรณ์ในพระไตรปิฏกนั้นเทียบเคียงได้กับทฤษฎีในทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างน่าทึ่ง และเป็นการยืนยันให้เห็นถึงว่าศาสนาพุทธนั้นใช้หลักเหตุผลตามวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น