รายการทีวีรายการหนึ่งที่เชิญผู้เชี่ยวชาญมาพูดกันถึงสภาพสังคมไทย มีผู้อภิปรายรายหนึ่งได้ชี้ให้เห็นถึงสภาพสังคมไทย และได้พูดเปรียบเปรยสังคมไทยว่าถ้าเป็นต้นไม้แล้วเพลี้ยก็กัดกินเกือบหมดแล้ว โดยพูดถึงสังคมไทยว่าผู้ใหญ่ไม่ได้ทำเป็นแบบอย่าง ปากพูดว่าให้ลูกทำความดีแต่ตัวเองก็ทำอีกอย่างหนึ่ง ที่ตรงกันข้าม พูดถึงผู้บริหารประเทศที่ไม่อยู่กับร่องกับรอยวันนี้พูดอย่างหนึ่ง อีกวันหนึ่งก็พูดอีกอย่าง สิ่งเหล่านี้มันซึมซับไปสู่เยาวชนด้วย ทำให้เยาวชนเห็นว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาต่อไปตัวเองก็ทำได้ นอกจากนี้แล้วยังมีรายการละครที่วีเป็นตอนๆ ที่เยาชนเห็นแต่เรื่องร้ายๆ มากกว่า และเผอิญไปเห็นเอาเฉพาะตอนนั้นตอนดีๆ ไม่ได้ดูก็ส่งผลต่อเยาวชนในทางที่ไม่ดีที่พ่อแม่ไม่ค่อยมีเวลาเอาใจใส่ชี้แนะ จึงอยากจะเห็นละครสนุกที่เป็นเรื่องดีๆ ให้ข้อคิดมากกว่า
การอภิปรายในเวทีนี้ก็สรุปได้ว่าพ่อแม่ผู้ปกครองเป็นแม่แบบของเยาวชนเขามักจะเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อแม่มาด้วย ดังนั้นถ้าลูกเป็นคนไม่ดีก้าวร้าวพ่อแม่ก็อาจเคยแสดงอาการนั้นให้ลูกเห็นบ่อยๆ ถ้าพ่อแม่นอนตื่นสายลูกก็มีแนวโน้มจะนอนตื่นสายด้วย ถ้าพ่อแม่ทำบุญไปวัดให้ลูกเห็นบ่อยๆ ลูกก็จะเป็นเช่นนั้นไปด้วย และผู้อภิปรายสรุปไว้อย่างหนึ่งและผู้เขียนก็เห็นด้วยก็คือว่าทำแบบอย่างที่ดีทั้งการพูดและการปฏิบัติให้ลูกเป็นคนดี แล้วความฉลาดความเก่งก็จะตามมาเองไม่ต้องม่งแต่ความฉลาดที่จะให้เหนือกว่าคนอื่นเพียงอย่างเดียวทำให้เห็นคนใจดีโอบอ้อมอารี มีสัมมาคารวะ อนาคตข้างหน้าดีแน่นอน
ผู้เขียนนึกขึ้นได้ถึงครั้งที่อยู่ต่างประเทศได้ดูละครครอบครัวชุดหนึ่ง ที่สอนอะไรบางอย่างในลักษณะเช่นนี้ทุกวันที่ทำให้เด็กซึมซับหน้าที่ความรับผิดชอบการปฏิบัติตัว ในตอนหนึ่งเรื่องมีอยู่ว่ามีครอบครัวหนึ่งมีพ่อ แม่ลูก หลายคน ก็วันหนึ่งลูกคนโตที่เข้าวันรุ่นแล้วก็มาบ่นกับพ่อแม่อย่างน้อยอกน้อยใจว่า รถยนต์จะขี่ก็ไม่มีต้องไปพร้อมพ่อแม่ โทรศัพท์ ตู้เสื้อผ้าส่วนตัวก็ไม่มี และอะไรต่ออะไรก็บ่นไปเรื่อย หลังจากนั้นพ่อแม่ก็พูดด้วยความเห็นใจว่า ก็จริงอยู่ควรจะเป็นอย่างนั้นแหละ แต่ลูกก็ลืมไปว่าลูกยังไม่มีอีกอย่าง คือลูกยังไม่มีเงินเดือน จากนั้นละครก็ปิดฉากลงทิ้งท้ายให้คิดกันเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น