ความวุ่นวายในเหตุการณ์ต่างๆ มักจะโทษกันว่าเป็นเพราะเราไม่ฟังเหตุผลกัน คิดแต่ว่าเหตุผลของตัวเองดีที่สุด ไม่ยอมฟังเหตุผู้อื่นว่าอาจจะดีกว่าของตัวเองก็ได้ บางครั้งเหตุผลของผู้อื่นจะดีเพียงไรก็ไม่ยอมรับฟังเมื่อมีอคติตั้งแต่ต้นคือ ไม่ใช่พวกของตัวเอง อยู่คนละแนวทาง ถ้าเมื่อไรคนในชาติมีแนวคิดแบบนี้ความวุ่นวาย ความสับสนก็เกิดมากขึ้นเพียงนั้น และที่อันตรายมากกว่านั้น นอกจากไม่มีเหตุผลให้ตัวเองแล้วยังยอมตามเชื่อตามผู้อื่นโดยไม่ได้พิจารณาเหตุผลใดๆ ทั้งสิ้นของให้ได้ผลประโยชน์มากบ้างน้อยบ้างก็พร้อมที่จะเชื่อและปฏิบัติตามโดยไม่ได้พิจารณาเหตุผลของความถูกต้องดีงามเลยก็ว่าได้
มีลัทธิที่ถือเอาเหตุผลเป็นหลัก (rationalism) เชื่อว่าการได้มาซึ่งความรู้ผ่านทางการหาเหตุผล ด้วยแนวทางนี้ใช้วิธีหาเหตุผลนำไปสู่ความรู้ และกำหนดได้ว่าความรู้ที่ถูกต้องได้มาก็ต่อเมื่อใช้การหาเหตุผลที่ถูกต้อง ยังมีความเชื่อว่าความรู้ที่หามาจากการหาเหตุผลมีความถูกต้องเท่ากับหรือเหนือกว่าความรู้ที่ได้จากการสังเกตเสียอีก จากงานวิจัยโดย Johnson-Laird (1983) ได้เสนอแนะนอกจากจะขึ้นอยู่กับหลักสามัญการ (generalized principle)ของตรรกะแบบฉบับอย่างเดียว แล้วมนุษย์ยังใช้การลงความเห็นโดยสร้างรูปแบบในใจแทนปัญหาในบริบทเป็นรากฐานในการใช้รูปแบบนิรนัยที่มองภาพใหญ่ก่อนแล้วนำไปสู่ประเด็นย่อย
เมื่อมองว่าการหาเหตุผล(reasoning)ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่นั้นมีรากฐานมาจากปรัชญาวิทยาศาสตร์ ที่มีความเชื่อว่าความรู้ทุกอย่างยังมีข้อบกพร่องมากบ้างน้อยบ้างที่ยังใช้อยู่ได้ก็เพราะยังอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และความเชื่ออีกอย่างก็คือความคิดของผู้อื่นอาจจะดีกว่าถูกต้องกว่าถ้าได้พิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบแล้วและแน่ใจว่าความคิดของผู้อื่นดีกว่าก็ยอมรับเอาความคิดใหม่ที่ดีกว่ามาใช้เสียเลย ด้วยหลักอันนี้ทำให้งานวิจัยทุกอย่างต้องมีการนำเสนอในที่ประชุมวิชาการเพื่อไปนำเสนอว่าได้มีความคิดที่ดีกว่าอย่างไร หรือไปฟังผู้อื่นว่ามีความคิดที่ดีกว่าอย่างไร จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยสรุปการมีแนวคิดทางปรัชญาวิทยาศาสตร์แล้วยึดเป็นแนวทางแล้วความวุ่นวายต่างๆ ก็อาจลดน้อยถอยลงไปความสมานฉันท์ก็ย่อมเกิดขึ้นได้เร็วขึ้น ดังนั้นการศึกษาของเราต้องเร่งสร้างแนวคิดตามแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์อย่างเร่งด่วน ได้เท่าใดก็ยิ่งทำให้สังคมเรากลับเข้าสู่ความสงบสุขมากเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น