หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ความเข้าใจกับการเรียนรู้

ในการดำเนินชีวิตประจำวันเกี่ยวข้องกับการรู้ (to know) และการรับรู้ (perception) โดยมีประสาทสัมผัสทั้งห้าที่เรียกว่าอายตนะ และใจเป็นตัวรู้อารมณ์ และนำไปสู่ความรู้สึกและความเข้าใจ ดังนั้นการแสดงอาการความเข้าใจ โดยการตอบรับด้วยอาการ ผยักหน้า หรือส่งเสียงบอกให้ทราบอย่างใด อย่างหนึ่ง ครับ คะ โอเค ในภาษาอังกฤษ ก็คือ yes , ok, I see , I get ที่กล่าวมาเป็นการรับรู้และเข้าใจ อาจจะมาจากคำถามว่า รู้เรื่องไหม เข้าใจไหม รู้หรือเปล่า ซึ่งบางครั้งมีความหมายไปในทางที่การรู้อย่างเดียวก็อาจไม่เข้าใจก็ได้ เช่นรู้แต่ทำไม่ได้ปฏิบัติไม่ได้ ดังนั้นความเข้าใจจึงมีหลายระดับ I see อาจเป็นความเข้าใจที่ผิวเผิน กว่า I get
ยังมีความเข้าใจที่นำมาใช้เป็นทางการมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่คำว่า comprehension กับคำว่า understanding เป็นคำที่มีความหมายเดียวกันแต่คำว่า understand จะใช้ในภาษาพูดมากกว่า comphehension นั้นเป็นการสร้างความหมาย (construction of meaning) ในแง่นี้การสร้างความหมายของแต่ละคนก็อาจแตกต่างกันไปก็คือเข้าใจแตกต่างกันไปด้วยในแต่ละคน ส่วนคำว่า understanding เป็นความเข้าใจที่ต้องใช้ความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วมาช่วยในการสร้างความรู้ใหม่ที่มีความหมายไปไกลกว่าสารสนเทศที่ให้มาหรือที่ได้รับมาและความรู้พื้นฐาน (ความรู้ที่มีอยู่เดิม) ซึ่งนำมาเป็นหลักฐานในการสร้างความรู้ใหม่มากกว่าที่จะดึงเอามาจากความจำประจำตัว
จากที่กล่าวมาแล้วนั้น จะเห็นว่าการเข้าใจนั้นมีความหมายใกล้เคียงกับการเรียนรู้ นั่นก็คือคนจะเข้าใจอะไรได้ก็ต้องเกิดการเรียนรู้ก่อน ทั้งที่เรียนรู้มาแล้ว และเพิ่งเกิดการเรียนรู้ใหม่ การเรียนรู้โดยทั่วไปจะหมายถึงกระบวนการสร้างความรู้ขึ้นมาตลอดเวลา จากความรู้ที่มีอยู่เดิม ไม่ใช่เป็นเพียงการบันทึกความรู้หรือ ดูดซึมเอาความรู้เข้าไว้ การเรียนรู้จึงขึ้นอยู่กับความรู้ (knowledge dependent) ที่คนเราสร้างความรู้ใหม่ขึ้นจากความรู้ปัจจุบัน (current knowledge) หรือความรู้ที่มีอยู่เดิม และจะเกิดการเรียนรู้ได้ดีก็ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ด้วยความอยากรู้ หรือสร้างความหมาย สร้างความเข้าใจตามที่ต้องการนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น