เราทราบกันดีสำหรับผู้มีวิสัยทัศน์ว่า สามารถที่จะมองภาพอนาคตที่จะให้เกิดขึ้น หรือให้เป็น ตามแนวทางที่ควรจะเป็นในอนาคต นั่นก็คือสามารถที่จะคาดการณ์ ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าที่จะเกิดขึ้น เห็นประโยชน์ เห็นโอกาสที่จะมีอยู่ในอนาคต จึงมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าไว้รองรับ จะเอาดี เอาเด่น เอาก้าวหน้าอย่างไร อย่างมั่นใจว่าสามารถที่จะทำได้ จะทราบได้อย่างไรว่าวิสัยทัศน์ถูกต้องนั้น จึงต้องพิจาณาถึง ฉากทัศน์ ที่ควรมองความเป็นไปในอนาคต (Future Scenario) สำหรับสถาบันอุดมศึกษา นั้นควรจะได้มองถึงสิ่งที่อันเป็นหัวใจของเป้าหมายหลักคือบริบทขององค์ความรู้ (context of knowledge) และ ระบบนิเวศแห่งนวัตกรรม (Innovation Ecosystem) มองถึงการเปลี่ยนแปลงด้านประชากร (Demographic change) มองถึงปัญหาและความต้องการของสังคม (Demanding Problem) มองถึงการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี (Technology drive)
การที่สถาบันการศึกษาต้องมีหน้าที่หลักในการสร้างองค์ความรู้และนำองค์ความรู้มาใช้ในการสอนและบริการนั้น ความรู้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่การสร้างเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมต่างๆ เพราะโลกมีธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงไม่หยุดนิ่ง คนที่อยู่บนโลกก็ต้องเปลี่ยนแปลงตามไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงจึงมีแนวโน้มไปสู่สิ่งที่ใหม่ อาจไม่เคยมีมาก่อน หรือถ้าเคยมีมากก่อนก็มีลักษณะที่แตกต่างของบริบท ที่จะต้องเรียนรู้กันใหม่ทั้งสิ้น นอกจากนี้แล้วทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีความสัมพันธ์โยงใยกัน ในลักษณะที่เป็นนิเวศแห่งนวัตกรรม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรก็จะแตกต่างไปจากเดิม มีความโน้มเอียงสูงที่จะเป็นแบบตาลปัด ที่วัยคนสูงอายุมากกว่าวัยเด็กและหนุ่มสาว ดังนั้นการมองปัญหาความต้องการของสังคมก็แตกต่างกันไป
และที่สำคัญคือฉากทัศน์ที่มองการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีให้ออกว่าแนวโน้มเทคโนโลยีเป็นอย่างไร โดยทั่วไปในปัจจุบันยืนยันได้ว่า การเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีเป็นไปแบบก้าวกระโดดหรือแบบเอ็กโพเนนเชี่ยล ลักษณะที่เห็นได้เช่น ความเร็วคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุกปี ความจุของหน่วยความจำคอมพิวเตอร์เพิ่มเป็นสองเท่าทุกสามปี เป็นต้น ฉากทัศน์ด้านเทคโนโลยีนั้นผู้มีวิสัยทัศน์ต้องมองให้ออกว่ามีธรรมชาติแนวโน้มเป็นอย่างไร เพราะความเข้าใจที่ผิดทำให้ความคิดผิดและส่งผลทำให้วิสัยทัศน์ผิดเป็นต้น เช่นถ้าเข้าใจว่าเทคโนโลยีมีการเติบโตแบบเชิงเส้นแทนที่จะเป็นเอ็กโพนเนนเชี่ยลแล้วละก็ เท่ากับว่าไม่เชื่อในความสามารถของมนุษย์ที่จะ เร่งสร้างความรู้ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง นั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น