หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ศาสนาสากลจักรวาลและพุทธศาสนา

ไอน์สไตย์ได้เคยยืนยันถึงความรู้สึกทางศาสนาสากลจักรวาลอย่างเต็มเปี่ยมแรงกล้า ความรู้สึกดังกล่าวนี้เป็นแรงจูงใจกระตุ้นอย่างแรงกล้า สำหรับการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ศาสนาพุทธมีสภาวะดังกล่าว และ ไอน์สไตย์ได้เคยกล่าวไว้ว่า “ศาสนาพุทธตามที่ได้เรียนรู้จากงานเขียนอันน่าประทับใจของ Schopenhauer จะมีส่วนต่อความรู้สึกทางศาสนาสากลอย่างแรงกล้า” และยังสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ จากการศึกษาลึกลงไปในอะตอมและกลศาสตร์ควอนตัม รวมทั้งศาสนาและปรัชญาทางตะวันออก


ในปรัชญาตะวันออกได้เผยให้ทราบว่ามีความเกี่ยวพันธ์กับศาสนาสากลตามข้อเสนอของไอน์สไตย์ นั่นก็คือตามแนวปรัชญาของขงจือ และเต๋า ซึ่งปรัชญาทั้งสองแนวถือเอาจักรวาลทั้งหมดทุกองค์ประกอบมีความสัมพันธ์กัน ทุกสิ่งทุกอย่างเชื่อมโยงกับทุกสิ่งอื่นๆ ที่ประสานสอดคล้องกันเป็นจักรวาลเดียว พุทธศาสนามีหลายอย่างสอดคล้องเข้ากันได้กับลัทธิเต๋า กล่าวได้ว่าทั้งสองแนวคิดมีหลักร่วมที่คล้ายคลึงกัน จึงเป็นเหตุให้มีการหลอมรวมแนวคิดแบบพุทธและเต๋าเข้าด้วยกัน เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่พุทธศาสนาถูกนำเข้ามาในประเทศจีนในครึ่งแรกของศตวรรษที่16 การนำเสนอภายหลังก็ไม่ได้มีปัญหาใดในเชิงอุดมการณ์ แต่การหลอมรวมเช่นนี้ได้ก่อให้เกิดพุทธศาสนาอีกนิกายที่เรียกกันว่า เซ็น (Zen Buddhism) ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่จะตัดสินตีความให้ศาสนาสากลของไอน์สไตย์ว่ามีมโนทัศน์ที่ใกล้เคียงกับลักษณะทัศนการมองโลกพื้นฐานของ พุทธศาสนา ลัทธิเต๋า และนิกายเซ็นหรือที่ใกล้เคียงกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น