เสียงที่เราได้ยันได้ฟังอยู่ทุกเมื่อชั่ววันนั้น ต้องอาศัยผ่านตัวกลางเช่นอากาศมาจึงทำให้ได้ยิน เคยมีการทดลองกันตั้งแต่ชั้นประถมว่า ถ้ากดออดในภาชนะที่สูบอากาศออกจนหมดที่เรียกได้ว่าเป็นศูนยากาศแล้ว ก็จะไม่ได้ยินเสียงเลย แต่ถ้าใช้หูแนบกับภาชนะนั้นก็ได้ยินเสียงเหมือนกันเพราะเสียงเคลื่อนที่ผ่านของแข็งเช่นโลหะ แก้ว น้ำได้เช่นกัน เสียงที่เกิดจากฟ้าร้องและฟ้าผ่า เราจะเห็นว่าจะเห็นแสงมาก่อนเสียงเสมอ อันแสดงให้เห็นว่าเสียงเดินทางมายังหูผู้ฟังใช้เวลานานกว่าแสง
เสียงเดินทางผ่านของเหลวเช่นน้ำได้เร็วกว่าในอากาศ และเคลื่อนที่ในโลหะได้ดีกว่าในน้ำและในอากาศ อย่างไรก็ตามการเคลื่อนที่ในอากาศ ความเร็วไม่ได้คงตัวเสมอไป ยังขึ้นอยู่กับ อุณหภูมิ ความดันอากาศ ความชื้นอีก เช่นที่อุณหภูมิสูง เสียงจะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่า หรือเสียงเคลื่อนที่ในน้ำอุ่นน้ำเย็นความเร็วของเสียงก็แตกต่างกันอีกเป็นต้น เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของความเร็วเสียงจะเท่ากับค่าความถี่เสียงคูณด้วยค่าความยาวคลื่นเสียงดังนี้
ความเร็ว = ความถี่คลื่น x ความยาวคลื่น
จะเห็นว่าที่ความเร็วคลื่นเปลี่ยนไปก็เนื่องจาก ความถี่ของคลื่นหรือความยาวคลื่นเปลี่ยนไป โดยทั่วไปถ้าความถี่ของเสียงมากขึ้นจะทำให้เสียงแหลมมากขึ้น ถ้าความถี่ลดลงจะทำให้เสียงทุ้มมากขึ้น เพื่อให้การกำหนดค่าความเร็วเสียงได้ถูกต้องจึงมักจะกำหนดไว้ที่ค่ามาตรฐานเช่นที่ระดับน้ำทะเล อุณหภูมิ 0 องศา เป็นต้น ค่านี้ก็จะใช้เป็นค่ามาตรฐานในการเปรียบเทียบ เช่นในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเทียบเสียงดนตรี เช่นในการตั้งสายเปียโน สายกีต้าเป็นต้น ซึ่งปัจจุบันเชื่อเครืองมือวัดอิเลคทรอนิกส์มากกว่าที่จะตั้งโดยการฟังเสียงด้วยหูเหมือนเมื่อก่อน ที่โอกาสที่จะเพี้ยนได้ง่ายกว่า ราคาเครื่องมือก็ไม่แพงในราคาไม่ถึง 1000 บาท การใช้เครื่องมือในการปรับก็ง่ายกว่า เพราะฟังด้วยหูอิเลคทรอนิกส ขณะที่ปรับเครื่องดนตรีเพียงแต่ตั้งให้ความถี่หรือความยาวคลื่นตรงกันกับคีย์ที่ตั้งไว้ในเครื่องมือเป็นมาตรฐานแล้ว จากการทดลองสามารถตั้งได้เร็วกว่าวิธีฟังเสียง สองถึงสามเท่าและให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่า เพี้ยนน้อยกว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น