วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
นาฬิกาชีวิต
เป็นที่ทราบกันโดยชาวจีน 3 ศตวรรษก่อนคริสตศักราช ที่นาฬิกาชีวิตเป็นกลไกประจำตัวที่ควบคุมจังหวะกิจกรรมการเปลี่ยนแปลงทางเคมีภายในพืชและสัตว์ ลักษณะบางอย่างเช่นช่วงการจับคู่สืบพันธ์ (mating) ช่วงเวลาการจำศิล (hibernation) และช่วงการย้ายถิ่น (migration) ที่มีช่วงเวลาเป็นปี อื่นๆ เช่นช่วงเวลาการตกไข่ (ovulation) และช่วงเวลาการมีประจำเดือน (menstrual) ซึ่งเป็นไปตามเดือนตามจันทรคติ (lunar month) อย่างไรก็ตามชีวิตส่วนใหญ่ มีช่วงเวลากลางวันกลางคืน 24 ชั่วโมง เรียกว่าช่วงจังหวะ circadian วัฏจักรกลางวันกลางคืนเป็นที่รู้กันของต้นไม้มาเกือบ 300 ปีแล้ว และคงอยู่เป็นประจำในทุกสปีชีของพืชและสัตว์ ทำให้ในสิ่งมีชีวิตเหล่านี้หน้าที่การเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่คงตัว พืชมีการเปิดปิดกลีบดอกหรือปากใบ การเพาะตัว การงอก หน้าที่การออกดอก การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในร่างกายมนุษย์ ความลึกลับของฮอร์โมน น้ำตาลในเลือด และระดับความดันเลือด และช่วงหรือวัฏจักรการนอน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น