หน้าเว็บ

วันพุธที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การให้คุณค่าระบบอาวุโส

ในตอนที่แล้วได้กล่าวถึงการตัดสินคุณค่าบางประการด้วยเกณฑ์วัดคุณค่าด้วยระบบอุปถัมภ์ ความจริงแล้วยังมีเกณฑ์วัดคุณค่าอื่นๆ ทางสังคม เป็นต้นว่าการใช้ระบบอาวุโสมาเป็นเกณฑ์ในการวัดคุณค่า ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ใช้เกณฑ์อาวุโสมาใช้เป็นเกณฑ์อยู่มากเพราะ ยิ่งมีอาวุโสมากก็ยิ่งบ่งบอกถึงมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการทำงานมาก และเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ดังนั้นจะเห็นอยู่บ่อยๆ ว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีตำแหน่งทางวิชาการเมื่อใกล้เกษียรหรือหลังเกษียรที่มีประวัติดี มักจะได้รับการว่าจ้างให้ไปเป็นผู้บริหารสถานศึกษาอื่นๆ ในชานเมืองหรือเมืองที่เล็กลง และทำเนียมปฏิบัติอย่างหนึ่งก็คือ อาจารย์ที่เป็นโฟเฟสเซอร์แล้วนั้นจะต่ออายุให้เลยโดยไม่ต้องร้องขอ เพราะถือว่าเป็นหน้าเป็นตาของมหาวิทยาลัยที่มีโฟเฟสเซอร์อยู่ประจำมหาวิทยาลัย


อย่างไรก็ตามในบางครั้งการใช้ระบบอาวุโสก็ยังไม่สามารถบอกถึงประสิทธิภาพ ควารรู้ความสามารถ ศักยภาพ รวมทั้งวุฒิภาวะในตัวบุคคลที่อาวุโสนั้น แต่ก็อีกนั้นแหละผู้อาวุโสที่ก้าวหน้าทันสมัยติดตามความเคลื่อนไหวมีกิจกรรมอยู้ตลอดเวลาในเรื่องที่เชี่ยวชาญก็ยังเป็นที่ยอมรับอยู่ก็ไม่น้อย แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีความสุ่มเสี่ยงในเรื่องของสังขาร ที่ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดน้อยถอยลงมีความเสื่อมลงเป็นธรรมดาที่อาจทำให้ความก้าวหน้าที่ควรจะเป็นลดลง จึงมีประเพณีที่ให้เป็นปูชณีบุคคล เป็นที่ปรึกษา เป็นแบบอย่างตัวอย่างที่ดีของคนรุ่นต่อไป ในประเด็นนี้นั้นเป็นตัวบ่งชี้อย่างหนึ่งว่าแม้ไม่มีอำนาจ ไม่มีตำแหน่งแล้ว แต่ด้วยความดีที่สั่งสมมาสังคมยังให้ความเคารพให้ความสำคัญที่ยังมีประโยชน์ สังคมไม่ได้เมินเฉยเสียที่เดียวคัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น