หน้าเว็บ

วันพุธที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

แนวโน้มโครงสร้างประชากรไทยเป็นแบบตาลปัตร

มีความเชื่อมั่นว่าแนวโน้มของประชากรไทยจากปี พศ. 2513 เป็นต้นไปเป็นแบบตาลปัตร แต่จะเห็นได้ชัดเจนเมื่อเวลาผ่านไปเป็นเวลา 80 ปี จากปี 2513 มีโครงสร้างที่ เริ่มจากวัยเด็ก 0-4 ปีมีจำนวนมากที่สุด ตามด้วยวัยพ่อแม 25-29 วัยปู่ย่า50-54 วัยทวด >=75 ตามลำดับในวัยทวดจะมีจำนวนน้อยที่สุด และในปี 2593 จำนวนในแต่ละวัยจะกลับกับในปี 2513 คือคนในวัยทวดจะมีมากที่สุด ตามด้วยวัยปู่ย่า วัยพ่อแม่ และน้อยที่สุดในวัยเด็ก


ในระหว่างปี 2513 - 2593 มีช่วงที่วัยพ่อแม่ 25-29 ปีอันเป็นวัยแรงงานมีจำนวนมากที่สุดในปี 2553 และจากนั้นจะลดลง ขณะที่วัยปู่ย่า และวัยทวดค่อยๆ มากขึ้นขณะวัยเด็กและวัยพ่อแม่ลดลง ขณะนี้เราอยู่ในปี 2551 จะเห็นว่าประชากรวัยแรงงานหรือพ่อแม่กำลังเพิ่มไปสู่จุดจำนวนสูงสุดในปี 2553 แล้วจากนั้นค่อยๆ ลดลงและวัยทวดจะเพิ่มขึ้นมากกว่าวัยอื่นๆ ในปี 2593

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรดังที่กล่าวมาแล้วเมื่อพิจารณาจากจุดปัจจุบัน นั้นควรจะมีการวางแผนในการปรับตัวในการจัดการศึกษา วัยเด็กที่ลดลงจะส่งผลให้วัยเข้าศึกษามหาวิทยาลัยลดลง วัยแรงงานจะเพิ่มขึ้นสูงสุด การจัดการศึกษาณขณะนี้จึงน่าจะพัฒนาฝีมือแรงงานให้มาก และเพิ่มการศึกษาผู้ใหญ่ให้มากขึ้นเพื่อรองรับที่วัยผู้ใหญ่ที่เพิ่มมากขึ้นทุกที โดยเน้นการศึกษาตลอดชีวิตลดการพึ่งพิงไม่ให้เป็นภาระกับวัยแรงงานมากนักและให้เป็นกำลังหนุนวัยแรงงานได้ด้วย ให้สอดคล้องกับแนวโน้มที่อัตราส่วนเกื้อหนุนประชากรผู้สูงอายุ โดยประชากรวัยแรงงานดูแล 7 คนดูแลผู้สูงอายุ 1 คน ในปี 2543 และลดลงเป็น ผู้ดูแล 4 คนต่อผู้สูงอายุ 1คนในปี 2563 และเหลือผู้ดูแลเพียง 2 คนในปี 2593


เอกสารอ้างอิง โครงสร้างประชากรของไทยยุคโพสต์โมเดิร์น โดย ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น