หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ลักษณะการเรียนรู้แบบสร้างความรู้นิยม

ตั้งแต่เปียอาเจต์ นักวิทยาศาสตร์ด้านการเรียนรู้ชาวสวิส ได้พัฒนาทฤษฎีการพัฒนาการของเด็กตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงผู้ใหญ่ และพัฒนาทฤษฎีการเรียนรู้ที่คนจะเรียนรู้ได้ก็ต้องมีความขัดแย้งกันระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ มีความไม่ลงรอยกันเกิดความไม่สมดุลย ถ้าสามารถที่จะสร้างความสมดุลย์ให้เกิดขึ้นได้จากความรู้เดิมที่มีอยู่ได้ก็เกิดการดูดซึมหรือ assimilate แต่ถ้าความรู้เดิมที่มีอยู่ไม่อาจขจัดความไม่ลงรอย ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนความรู้เดิมใหม่ เป็นการเปลี่ยนมโนทัศน์สร้างความสมดุลย์ให้เกิดขึ้นโดยยอมรับสิ่งใหม่เป็นความรู้ใหม่ดังที่เรียกว่าเกิด accommodation หรือจะเรียกว่าเกิดการเรียนรู้ การเรียนรู้ในแง่นี้เท่ากับสร้างความรู้ขึ้นมาเป็นความเข้าใจใหม่ แต่ถ้าไม่เกิดการเรียนรู้ ไม่เข้าใจ หรือไม่มีความหมายเป็นการล้มเหลวที่สร้างความรู้ขึ้นมา


ดังนั้นการสร้างความรู้นิยมจึงเน้นที่จะให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ให้มากที่สุด เช่นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ในสถานะการจริงเป็นต้น และยังเน้นที่ความเข้าใจเป็นเหมือนเป้าหมายในการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์ การสร้างความรู้จึงเป็นทัศนะเกี่ยวกับว่าการสอนควรจะดำเนินการไปอย่างไร และควรจะจัดการกับผู้เรียนอย่างไร ควรจะจัดระบบชั้นเรียนอย่างไรให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และควรพัฒนาหลักสูตรและนำไปใช้อย่างไร

โดยสรุปแล้วนักสร้างความรู้นิยมนั้นมีแนวทางที่มองความรู้ ซึ่งแต่ละบุคคล และสังคมเป็นผู้สร้างขึ้นมากกว่าที่จะเป็นเหมือนวัตถุที่คอยรับเหมือนกับการกรอกน้ำใส่ขวดปากเล็กที่ใส่น้ำลงไปได้ยากมักจะหกหล่นหายไปเกือบหมดหรือแทบไม่ได้อะไรในการเรียนรู้ และจากทฤษฎีได้เผยให้ทราบว่าความรู้นั้นเป็นเพียงชั่วคราวที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ใช่คงทนถาวรตลอดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น