คำว่าจริยธรรมตามตัวอักษรจะหมายถึงธรรมอันเหมาะสมในการประพฤติปฏิบัติ ซึ่งจะอิงอยู่กับหลักปฏิบัติตามคำสอนทางศาสนา และยังอิงอยู้กับเรื่องอื่นๆ เช่นความเชื่อเชิงปรัชญา ขนบธรรมเนียมประเพณี ถ้าอิงโดยศาสนาล้วนๆ มักเรียกว่าเป็นศิลธรรม และอิงอยู่กับเรื่องอื่นๆที่ไม่ใช่ศาสนาเพียงอย่างเดียวจะเรียกว่าจริยธรรม แต่จริยธรรมมักจะมีความหมายครอบคลุมศิลธรรมเข้าไปด้วย การประพฤติปฏิบัติทางจริยธรรมไม่ได้เป็นข้อบังคับแต่เป็นไปด้วยความสมัครใจ สำหรับการใช้กฏหมายนั้นเป็นส่วนเกื้อหนุนจากภายนอกเพื่อให้คนมีจริยธรรม
จากข้อเขียนของ ดวงเด่น นุเรมรัมย์ ได้สรุปว่า จริยธรรมคือสิ่งที่มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติ ซึ่งจะต้องพัฒนาขึ้น โดยอาศัยกฏเกณฑ์ความประพฤติที่มนุษย์ควรประพฤติที่ได้จากหลักการทางศิลธรรม หลักปรัชญา วัฒนธรรม กฏหมาย หรือจารีตประเพณี เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนเองและสังคม
การมีจริยธรรมที่ถูกต้องเหมาะสมถือว่าเป็นความกล้าหาญอย่างหนึ่ง ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นความกล้าหาญทางจริยธรรม สอดคล้องกับที่ศ.ดร.สาโรจน์ บัวศรีเคยให้นิยามไว้หมายถึง "การแสดงความกล้าในการคิด และกระทำแต่สิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสมความกล้าหาญที่จะคิด พูด และทำในสิ่งที่ตนคิดว่าถูกต้องทางจริยธรรมโดยไม่คำนึงว่าหากตนปฏิบัติตามสิ่งนั้นแล้วตนเองจะได้รับประโยชน์ หรือเสียผลประโยชน์อะไรบ้าง หากแต่กระทำไปเพราะมันเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และจะไม่กระทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องแม้ว่ามันจะนำมาซึ่งผลประโยชน์มากมายมหาศาลก็ตาม "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น