หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประสบการณ์ใช้ blogspot ประกอบการเรียนการสอน

เหตุผลที่เลือกใช้ blogspot ประการแรกเป็นบริการที่จัดให้ฟรี และเร็วด้วย ที่ว่าเร็วก็เพราะว่าหากใช้เว็บอื่น แม้แต่ของมหาลัยเอง ก็มิอาจจะใช้เป็นเครื่องมือประกอบการเรียนการสอนพร้อมกันได้ เพราะต้องรอกันจนไม่สามารถที่จะดำเนินการต่อไปได้ ขาดความต่อเนื่อง แต่เมื่อใช้บริการฟรีของ google ในการใช้บล็อกมาประยุกใช้ สามารถใช้งานได้ทันต่อการตอบสนองได้
องค์ประกอบที่จำเป็นในการใช้ blogspot อันแรกต้องให้ทั้งผู้สอนและนักศึกษาทุกคนต้องมีที่อยู่อีเมลของ Gmail ซึ่งก็เป็นบริการฟรีของ google อีกเหมือนกัน ต้องบอกนักศึกษาให้สมัคร Gmail ตั้งแต่ชั่วโมงแรก ให้ไปสมัครที่ไหนก็ได้ขอให้ได้อีเมลแอดเดรสมาให้ได้ การสมัครเป็นกลุ่มหมายถึงหลายๆ คนสมัครพร้อมๆ กันจะมีปัญหาที่ทาง google กำหนดไว้ได้ไม่เกิน 10 คน ในแต่ละเครือข่ายย่อย จึงต้องให้นักศึกษาไปสมัครจากที่อื่นมา  หลังจากที่ได้อีเมลล์แอดเดรสมาแล้ว  นำไปสมัครของใช้งานบล็อกในที่นี้ก็คือ blospot โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ blogger.com  ส่วนขั้นตอนการสมัคร นั้นให้ใส่อีเมลล์แอดเดรสของ Gmail รหัสผ่านสองครั้ง ใส่ชื่อแสดงหรือลงชื่อว่าอะไรเมื่อเขียนเสร็จ  แล้วให้ตั้งชื่อโฮมเพจซ์ของบล็อกเป็นอะไรก็ได้ที่จะทำให้ผู้เข้ามาชมโฮมเพจซ์สนใจ หรือตามวัตถุประสงค์  จากนั้นก็ให้กำหนด url หรือที่อยู่ของโฮมเพจซ์ของบล็อก ที่ใครๆ ก็จะสามารถเข้ามาดูได้ทั่วโลกทางอินเตอร์เน้ต  จากนั้นเลือกแม่แบบที่จะเป็นโฮมเพจซ์ของบล็อก แล้วเริ่มเขียนเว็บล็อกแรกได้ทันที

แนวทางการนำไปใช้ เพื่อใช้เป็นที่ส่งการบ้านของนักศึกษา โดยผู้สอนก็ต้องสร้างเว็บบล็อกเช่นเดียวกับนักศึกษา แต่จะเป็นเว็บล็อกของผู้สอน ที่สามารถเชิญให้นักศึกษาในห้องทุกคนเข้ามาเขียนได้ โดยการส่งคำเชิญไปให้นักศึกษามาเขียน ที่ใช้งานอยู่เป็นการบังคับให้ทุกคนต้องตอบรับคำเชิญเป็นผู้เขียนในเว็บล็อกของผู้สอนหรือจะเรียกว่าเป็นเว็บล็อกของรายวิชาก็ได้ การทำเช่นนี้ก็จะมีรายการของผู้เขียนแต่ละคนเป็นลิงค์อยู่ในเว็บล็อกรายวิชา เมื่อคลิงที่รายชื่อแต่ละคนก็จะนำไปสู่การเปิดโฮมเพจซ์บล็อกของแต่ละคนได้ ทำให้สะดวกต่อการตรวจงานที่นักศึกษาส่งมา  โดยวิธีนี้ทำให้นักศึกษาทุกคนสามารถไปเปิดดูการบ้านของนักศึกษาคนอื่นๆ ได้ การให้การบ้านจึงต้องเป็นแบบปลายเปิดหรือมีโจทย์ที่แตกต่างกัน ถ้านักศึกษาคนใดขยันไปอ่านของเพื่อนๆ ด้วยก็จะมีความรู้แตกฉานมากยิ่งขึ้น

เนื่องจาก google ได้ให้เครื่องมือในการจัดการ ตกแต่งเว็บไว้มากมาย ที่จะเสริมแต่งประกอบ เช่นใส่ตัวนับจำนวนผู้เข้าชม การทำรายการเมื่อให้คะแนนสอบ แจ้งคะแนนสอบ การใส่รูป ใส่วิดีโอประกอบคำอธิบาย ก็ทำได้สะดวก รวมทั้งการใส่รูปเจ้าของโฮมเพจซ์เว็บล็อกทำให้รู้จักนักศึกษาและนักศึกษาด้วยกันรู้จักกันดีมากยิ่งขึ้น ใช้ในการซ่อมเสริมสำหรับนักศึกษาที่มีความจำเป็นไม่สามารถมาเข้าชั้นเรียนได้ได้บางครั้ง และยังสามารถใช้ในการตรวจสอบการเข้าชั้นเรียนได้ โดยการให้เขียนบทความ หรือให้ไปแสดงความคิดเห็นซึ่งจะมี วันที่ เวลาปรากฏให้ทราบว่านักศึกษาได้ทำกิจกรรมนั้นๆ ในวันเวลาที่กำหนดได้   คราวต่อไปจะได้มาเล่าเรื่องเกร็ด เทคนิค และปัญหาของการการนำไปใช้

1 ความคิดเห็น: