จากที่กล่าวกันว่าสังคมของเราเปลี่ยนไปเป็นสังคมแห่งความรู้นั้น บางคนอาจจะยังไม่เห็นด้วย เพราะยังเห็นผู้คนจำนวนมากเมื่อจะทำอะไรไม่ได้ใช้ความรู้ที่ควรจะเป็น แต่นัยยะสังคมแห่งการเรียนรู้นั้น อยู่ที่การคิดใหม่ทำใหม่ เพื่อแก้ปัญหา ถ้าหากว่ายังใช้วิธีเดิมๆ ไม่ได้ผลแล้ว หรือได้ผลแต่ไม่ทันกาล การจะคิดใหม่ทำใหม่จึงเน้นกันที่ความรู้ ที่นำมาใช้เป็นความรู้ใหม่ที่นี่ แต่อาจเป็นความรู้เก่าของที่อื่น การแข่งขันกันทางธุรกิจการค้าก็เน้นกันที่ความรู้และเทคโนโลยี ในนัยนี้เทคโนโลยีก็เป็นความรู้อย่างหนึ่ง พูดง่ายๆ ก็คือแข่งกันที่ความรู้ว่าใครมีความรู้มากกว่ากัน ใครมีความรู้มากกว่าย่อมได้เปรียบ และเมื่อมีความรู้แล้วจะต้องนำความรู้นั้นมาให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ในเรื่องนี้ผู้คิดค้นความรู้ไม่จำเป็นว่าจะต้องนำความรู้มาให้เกิดประโยชน์ในทางธุรกิจได้ดีเสมอไป ดังจะเห็นว่าบริษัทธุรกิจนั้นซื้อเทคโนโลยีเอาไปผลิตสินค้าได้ดีกว่า ผู้ที่คิดค้นเทคโนโลยีเสียอีก ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นมากมาย
และการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้นั้น ความรู้มีการแพร่กระจายเร็ว สามารถที่จะไปเอาความรู้ที่ใดที่มีอยู่แล้วมาใช้ได้ง่าย แต่ทำอย่างไรจะให้เข้ากับบริบทของเรา ขณะเดียวกันความรู้ของเราคนอื่นก็เอาไปใช้ได้ ฉวยโอกาสเอาไปใช้ได้หมด ไม่ต้องรอให้ใครสร้างความรู้ก่อน บางทีขณะที่นำความรู้มาใช้จะก่อให้เกิดการสร้างความรู้ใหม่ เพราะอย่างไรก็ต้องมีการปรับปรุงความรู้ให้เหมาะสมกับทรัพยากร สถานะการณ์สิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน
การจัดการความรู้ที่ผ่านมาเรามักจะจัดแบ่งความรู้เป็น 3 ส่วนคือความรู้ที่ชัดแจ้ง (explicit knowledge) ได้แก่ความรู้ความจริงทั้งหลาย ความรู้แฝงในตัวคน (implicit knowledge) เป็นความรู้ที่อาจได้จากประสบการณ์ที่แต่ละคนทำมาจนชำนาญมีเทคนิคเฉพาะตัว และความรู้ที่ฝังรากลึก (tacit knowledge) หลายคนไม่รู้ว่าตัวมีความรู้นี้อยู่ โดยแบบฉบับมักจะยกตัวอย่างด้วยภูเขาน้ำแข็งที่โผล่พ้นน้ำคือว่าเป็นความรู้ชัดแจ้ง ที่อยู่ใต้น้ำไม่ไกลจากผิวน้ำก็จะเป็นความรู้แฝง ส่วนความรู้ที่ซ่อนอยู่นั้นอยู่ลึกลงไปในน้ำ การแบ่งความรู้ดังกล่าวแล้วนั้นในสองประเภทหลังนั้นอาจจะดูคล้ายคลึงกัน แต่ถ้าจะให้ชัดว่าความรู้ที่อยู่ลึกนั้น อาจเป็นความรู้ที่เป็นความสามารถเฉพาะตัวที่คนอื่นทำไม่ได้ เป็นความรู้จากลางสังหรณ์ หรือเรียกกันว่าหยั่งรู้ ถ้าหยั่งรู้ได้ทุกเรื่องคงจะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้ตามบุคคลเดินดินธรรมดา
การแบ่งประเภทความรู้จากนักวิทยาศาสตร์ทางด้านการคิดและพฤติกรรมนั้นอาจแบ่งความรู้ได้เป็น 5 ประเทคคือความรู้เชิงประกาศ (declarative knowledge) ความรู้เชิงกระบวนการ (procedural knowledge) ความรู้เชิงตรรกะ (logical knowledge) ความรู้เชิงมโนทัศน์ (concept knowledge)
สำหรับการจัดการความรู้ โดยกระบวนการจะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้โดยประมาณ
1 การระบุ ค้นหา กำหนดความรู้ โดยเฉพาะความรู้ที่ส่งผลสำคัญโดยตรงต่อกิจการขององค์กร ทำอย่างไรจึงให้รู้ และสมควรรู้
2 เก็บสะสม รวมรวมความรู้ หาแหล่งความรู้ให้พล ทำอย่างไรให้ความรู้ทีฝังกลบอยู่ (tacit knowledge) ออกมาเป็นแบบเปิดเผยหรือชัดแจ้งให้ได้
3 เลือกประเมินค่า จริงเท็จ ตรงกับต้องการหรือไม่ อยู่ในระดับใด ระดับเล่า วิเคราะห์ ประยุกต์
4 เก็บในฐานข้อมูลความรู้เป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการสืบค้นและเรียกใช้ เก็บเป็นงานวิจัย คู่มือ ตำรา ฐานข้อมูล
5 นำไปประยุกต์ใช้ แก้ปัญหา วิจัย อบรม ในลักษณะเรียนรู้โดยการทำ มีการแบ่งบันแลกเปลี่ยนเรียนรู้
6 สร้างความรู้ใหม่ ทดลอง วิจัย ในส่วนนี้การเป็นองค์กรเรียนรู้เป็นสิ่งจำเป็น
7 เอาความรู้หรือนวัตกรรมไปสร้างรายได้ นำไปขาย สร้างบริการใหม่ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น