หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การคิดแบบองค์รวม

การคิดแบบองค์รวมเป็นการคิดในเทอมของความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยง และปริบทแวดล้อมในทางวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างชุมชนที่ยั่งยืนตามธรรมชาติอันเป็นบทเรียนที่ทรงคุณค่า ได้แก่ พืช สัตว์ จุลินทรีย์ โดยคิดให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายกับระบบนิเวศ ระบบสังคม ระบบทั้งหลายเหล่านี้จะต้องบูรณาการเป็นองค์รวม ซึ่งคุณสมบัติทั้งหมดไม่สามารถที่จะลดรูปเป็นส่วนเล็กย่อย


แทนที่จะมองจักวาลเป็นเหมือนเครื่องจักรที่ประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐาน นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่าในโลกวัตถุ สุดท้ายแล้วจะอยู่ในรูปของความสัมพันธ์ที่แยกออกจากกันไม่ได้ นั่นคือดาวเคราะห์เป็นเหมือนสิ่งที่มีชีวิต เป็นระบบที่ปรับความสมดุลย์ของตัวเองได้ การมองร่างกายมนุษย์เป็นเหมือนเครื่องจักร และแยกจิตออกไปจากร่างกาย จะต้องแทนด้วยระบบที่รวมไม่เฉพาะสมอง ภูมิคุ้มกัน และ เซลล์ แต่รวมถึงจิตอันเป็นองค์ประกอบการคิดทางจิต การวิวัฒนาการไม่ได้หมายถึงการแข็งขันกันเพื่ออยู่รอดอีกต่อไป แต่จะอยู่ในรูปของการพึ่งพาอาศัยกันและกัน ที่มีแรงผลักดันในการสร้างสรรค์ และคิดสิ่งใหม่ๆ

การมององค์รวมเชิงนิเวศได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับทางการศึกษาอย่างลึกซื้งในศตวรรษที่ 21 คงจะเป็นประสบการณ์ของการเรียนรู้ที่จะเอาชนะสิ่งแปลกแยกไปจากโลกธรรมชาติ จำเป็นต้องมีหลักสูตรที่สอนเด็กๆ ถึงความจริงอันเป็นรากฐานของชีวิตที่ของเสียจากสปีชีหนึ่งเป็นอาหารให้อีกสปีชีหนึ่ง ในเรื่องนี้เป็นวงจรชีวิตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยอาศัยเครือข่ายของสิ่งมีชีวิต (Web of life) ซึ่งพลังงานจากดวงอาทิตย์เป็นตัวขับเคลื่อนทางนิเวศทั้งหมด นั้นความหลากหลายทางธรรมชาติที่ยืนยันถึงลักษณะที่ดี จากชีวิตที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อ 3 พันล้านกว่าปีมาแล้ว นั้นไม่ได้เข้ายึดดาวเคราะห์โลกโดยการแข่งขัน ต่อสู้รบราฆ่าฟันกัน แต่โดยการเชื่อมต่อเป็นเครือข่าย การสอนความรู้ใหม่เช่นนี้ที่ซึ่งเป็นภูมิปัญญาโบราณ จะเป็นบทบาทที่สำคัญที่สุดทางการศึกษาในศตวรรษนี้







ถอดความจากบทความ.. language of nature เขียนโดย บริจิต ขับประ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น