ตามหลักของฟิสิกส์เกี่ยวกับพลังงานคือการถาวรของพลังงาน (energy conservation) ที่ว่าพลังงานของระบบจะคงที่เสมอ กล่าวได้ว่าพลังงานในเอกภพมีความคงตัว พลังงานไม่มีการสูญหายไปไหนแต่มีการเปลี่ยนรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่งเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานไฟฟ้าเราสามารถเปลี่ยนรูปไปเป็นพลังงานรูปอื่นที่ต้องการ เช่น แสง ความร้อน และพลังงานกล (ที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนที่) เป็นต้น
ในยุคที่พลังงานแพงจำเป็นต้องใช้จ่ายอย่างประหยัดนั้น น่าจะพิจารณาถึงการประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน เช่นเรารณรงค์ให้มีการใช้หลอดแบบตะเกียบแทนหลอดแบบมีไส้ ทั้งนี้เพราะหลอดไฟฟ้าแบบตะเกียบมีประสิทธิภาพที่ให้แสงสว่างมากกว่า เมื่อหลอดทั้งสองแบบใช้กำลังไฟฟ้าเท่าๆ กัน นั่นคือจุดประสงค์หลักที่ต้องการให้ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยลง สำหรับหลอดแบบมีไส้นั้นที่ให้แสงน้อยกว่าอาจเป็นเพราะ พลังงานส่วนหนึ่งเปลี่ยนไปเป็นพลังงานความร้อน บางครั้งจึงใช้หลอดแบบมีไส้เพื่อให้ความร้อนเมื่ออากาศหนาวเย็นได้ แต่ไม่ใช่วัตถุประสงค์หลัก
อีกตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือเครื่องยนต์ทั้งหลายที่เราใช้กันอยู่ ไม่ว่าในรถยนต์ รถมอเตอร์ไซต์ สำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายในที่เราใช้กันอยู่สองแบบคือเครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซลล์ เราใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในนี้มา 100 กว่าปีแล้วยังไม่ได้เปลี่ยนวิธีการเลย ตามทฤษฎีประสิทธิภาพสูงสุดที่เครื่องยนต์เบนซินทำได้เพียงประมาณ 30 เปอร์เซนต์ และ เครื่องยนต์ดีเซลล์ได้ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งหมายความว่าพลังงานจากน้ำมันเมื่อจุดสันดาปแล้วกลายเป็นพลังงานขับเคลื่อนได้ไม่เกิน 30 หรือ 40 เปอร์เซ็นเท่านั้น นอกนั้นสูญเสียไปเป็นพลังงานความร้อน และอื่นๆ ความเสียดทาน บ้าง สิ่งที่ผู้พัฒนาปรับปรุงได้ก็คือระบบการจุดระเบิด การลดความฝืดของส่วนต่างๆ
ในกรณีของโรงไฟฟ้าโดยเฉลี่ยแล้วโรงไฟฟ้าสามารถเปลี่ยนพลังงานรูปแบบอื่นๆ ไปเป็นไฟฟ้าได้ไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเพราะสูญเสียในกระบวนการผลิต ความร้อน ความเสียดทาน พลังงานกลก่อนที่จะเป็นไฟฟ้า และยังสูญเสียจากความเสียดทานของสายส่งพลังงานไฟฟ้าอีกส่วนหนึ่ง ดังนั้นทั้งแหล่งผลิต และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหลายนั้นทำอย่างไรที่จะลดการสูญเสียพลังงานให้ได้มากที่สุด นั่นก็คือการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น