ปีนี้เป็นปีที่มหาวิทยาลัยราชภัฏได้เข้าไปมีส่วนร่วมเป็นเจ้าภาพหลัก โดยดูจากแผ่นป้ายโลโก้ผู้ร่วมจัดงานที่มีตราของราชภัฏเป็นหนึ่งในกรรมการจัดงานหลัก และเป็นที่น่ายินดีปีนี้มีพุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยวมาร่วมงานมากเป็นพิเศษ ทำให้พื้นที่ในวัดแน่นขนัดไปด้วยผู้คนที่มาบำเพ็ญกุศล โดยการเวียนเทียนรอบองค์พระธาตุ ซึ่งความจริงเป็นการเวียนรอบพระด้านทั้งสี่ และรวมอุโบสถทางด้านใต้เข้าไปด้วย ประมาณการหนึ่งรอบคงไม่น้อยกว่า 1 กิโลเมตร มีหลายคนสงสัยว่าทำไมเรียกว่าเวียนเทียน ทั้งๆที่ความจริงมีธูปดอกไม้ด้วย น่าจะเรียกว่าเวียนเทียน ดอกไม้ และธูป ในงานนี้เห็นป้ายไวนินของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ขึ้นสโลแกนว่า "เทียนให้แสง รามคำแหงให้ทาง" เมื่อนึกถึงปรัชญาของมหาวิทยาลัยราชภัฏที่ว่าประทีปถิ่นประเทืองไทย ก็น่าจะเพิ่มไปว่า ประทีปถิ่นราชภัฏนครประเทืองไทย อะไรทำนองนี้ ให้มีชื่อราชภัฏนครอยู่บ้างก็แล้วกัน
ในปีนี้ที่เป็นที่น่าสังเกตอีกอย่างก็คือผู้คนที่มาคลาคลำแน่นวัดนั้น ไม่ใช่จะมีแต่คนแก่คนเฒ่า แต่จะมีวัยรุ่น คนหนุมสาวและเด็กมากขึ้นเป็นพิเศษ จะมาจากสาเหตุจากการประชาสัมพันธ์ หรือการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง ที่ส่งผลให้มาร่วมงานกันมาก ถึงขั้นที่ว่า เมื่อถึงเวลาการแสดงมโนราห์ที่หน้าอุโบสถนั้นไม่สามารถจะจัดแสดงได้ตามเวลาเพราะต้องกันผู้คนออกจากเวทีแสดง และกันคนที่กำลังเวียนเทียนอยู่ออกไป ทำให้นางมโนราห์ นายมโนราห์ไม่สามารถออกมาแสดงได้ ต้องฝ่าฝูงชนออกมาจึงได้แสดง พร้อมกันนั้นก็มีการแสดงแสงสีเสียง ที่ให้ชื่อว่าการแสดงแสง และเสียงมินิไลน์แอนด์ซาวด์ ที่ต้องให้ชือ่ภาษาอังกฤษทำให้ดูเท่ห์อาจจะเป็นกระแสดึงคนหนุ่มสาวได้บางส่วนกระมัง ลักษณะก็มีการฉายลำแสงไปที่องค์พระธาตุเป็นลวดลาย และบนท้องฟ้าด้วยแสงสีต่างๆ สลับกันไปกับการจุดพลุเป็นระยะ แต่ดูเหมือนว่าการจุดพลุจะระมัดระวังเป็นพิเศษ จึงออกมาไม่ค่อยอลังการณ์เท่าที่ควร
การที่มีผู้คนมาเยอะๆ เช่นนี้ การจะแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์อะไรน่าจำทำให้เป็นที่รู้กันในวงกว้าง และแน่นอนว่าเมื่อมีเทศกาลงานบุญหลักๆ ที่มีการจัดงานก็จะมีคนจำนวนมากมาร่วมงานทั้งกลางวันกลางคืน ถ้าเป็นไปได้ถ้ามหาวิทยาลัยจะใช้เผยแพร่ผลงานและชือ่เสียงของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ประจักษ์ ก็น่าจะเตรียมรูปแบบการนำเสนอในลักษณะที่สามารถทำได้ไว้ก็น่าจะเป็นผลดีต่อมหาวิทยาลัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น